.

***อนิจา วาสนา ไพร่***

เรียกร้องเถอะ ร่ำหา กันให้ตาย
เคยบ้างไหม เคยได้ สิ่งที่หวัง
กราบแทบเท้า ติดดิน ร้องเสียงดัง
มีสักครั้ง บ้างไหม ใครเมตตา

สิ่งที่ขอ รอมา กี่ชาติแล้ว
ไร้วี่แวว สิทธิ ที่ใฝ่หา
เป็นแค่ไพร่ เขาชี้ เป็นอีกา
อย่าได้มา ร่วมหงส์ ดงผู้ดี

ร้องขอมา กี่ปี กี่ชาติแล้ว
ก็ไม่แคล้ว โดนด่า ฆ่าทุบตี
จากปู่ย่า มาถึง ทุกวันนี้
ถูกย่ำยี ไล่บี้ ให้จำนน

ตายแล้วสิบ เกิดใหม่ ได้เป็นแสน
แต่ขาแขน ถูกตรึง ด้วยเล่ห์กล
แล้วเมื่อไหร่ สิ่งนี้ จะหลุดพ้น
รับกฏโจร กฏหมาย ไร้ปราณี

อนิจา วาสนา ชะตาไพร่
ถูกใส่ร้าย กล่าวหา ว่าบัดสี
ทั้งหมอบกราบ ก้มไหว้ อย่างภักดี
แพ้วจี คนโฉด โป้ปดลวง

คงถึงครา แล้วหนา บรรดาไพร่
แม้ร่ำไห้ ร้องขอ ก็ช้ำทรวง
เขาไม่แล พวกเรา ไพร่ทั้งปวง
ต้องวัดดวง ทวงค่า ความเป็นคน

โดย ยรรยง ลูกชาวดิน
7 / มีนาคม / 2553
........

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

นักวิชาการลั่นอย่ามอง"เสื้อแดง" เป็น"วัว-ควาย" ชี้ชัดม็อบเกิดจาก



ชัยวัฒน์ สถาอานันท์

ข้อ ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดเสวนาหัวข้อ
"มิติใหม่ในการชุมนุมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย : กรณีการชุมนุมของกลุ่มเสื้อสีต่างๆ "
ร่วม เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน เนื่องใจโอกาสสถาปนาคณะครบรอบปีที่ 61 โดยมีผู้ร่วมเสวนาได้แก่
ศศาสตร์ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และ ผศ.ดร.ประภาศ ปิ่นตบแต่ง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ
ศาสตร์ ผศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศาสตร์ ผศ.ดร.อภิชาต เป็นผู้ร่วมเสวนาคนแรกที่แสดงความคิดเห็นในเชิงเศรษฐศาสตร์
เหลือง เกี่ยวกับปรากฎการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงและเสื้อเหลือง โดยหยิบยกผลการสำรวจจากหมูบ้านต่างๆ ในจังหวัดนครปฐม อุบลราชธานี และเชียงใหม่
ซึ่งแม้ว่าจะเป็นตัวอย่างจำนวนไม่มาก แต่พอที่จะทำอ้างอิงเป็นตัวแทนของหมู่บ้านได้ภายหลังวันที่ 10 เมษายน ซึ่งแม้ว่าจะเป็นตัวอย่างจำนวนไม่มากแต่พอที่จะทำอ้างอิงเป็นตัวแทนของ 1 หมู่บ้านได้ ภายหลังวันที่ 10 เมษายน โดยระบุว่า คำถามแรกที่อยากรู้คือใครคือเป็นเสื้อสีอะไร ในหมู่บ้านจังหวัดนครปฐมพบว่า เสื้อแดงส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้าง ขณะเสื้อเหลืองส่วนมากทำอาชีพค้าขายและรับราชการ ส่วนระดับการศึกษาพบว่า เสื้อเหลืองจะมีการศึกษาสูงกว่าเสื้อแดง ด้านรายได้พบว่า ค่าเฉลี่ยต่อเดือน ในอาชีพหลักเสื้อเหลืองเยอะกว่าเสื้อแดง แต่เสื้อแดงมีรายได้มากกว่าคนไม่มีเสื้อ ประเด็นต่อไปที่อยากรู้คือความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจนั้น มีผลอย่างไรต่อคนเสื้อแดงและคนเสื้อเหลืองบ้าง จากการเก็บข้อมูลพบว่า ในการประเมินแบบอัตวิสัยพบว่า ทั้งเหลืองและแดงมองว่าตัวเองเป็นคนชั้นกลางทั้งนั้น แต่คนเสื้อเหลืองมองตัวเองว่าเป็นคนจน มากกว่าที่คนเสื้อแดงมองตนเอง


"เมื่อถามว่าแต่ละคนคิดยังไงต่อการเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจนั้น เสื้อเหลืองมองว่าปัญหาการดังกล่าที่คนเสื้อแดงมองในปัญหาเดียวกัน เพราะฉะนั้นเราจึงพอสรุปได้ว่า ความคับข้องใจของคนเสื้อแดงไม่ได้มากจาก ปัญหาการเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ เพราะคนเสื้อแดงยังพอรับได้ ผิดกับเสื้อเหลืองที่มองปัญหาดังกล่าวใหญ่กว่า
จึงสรุปว่าความยากจนในเชิงภาววิสัยไม่ใช่ปัญหาของคนเสื้อแดง และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในทางอัตวิสัยเป็นปัญหากับเสื้อเหลืองมากกว่าเสื้อแดง อาจพูดได้ว่าเสื้อเหลืองไม่พอเพียงมากกว่าเสื้อแดงด้วยซ้ำไป" ผศ.ดร.อภิชาต กล่าวและว่า ดังนั้น ถ้าเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาของคนเสื้อแดง ก็ต้องตั้งคำถามต่อไปว่า อะไรคือปัญหาที่แท้จริงของคนเสื้อแดง


ผศ.ดร.อภิชาต กล่าวต่อว่า จากการลงไปศึกษากลุ่มคนเสื้อแดงในจังหวัดอุบลราชธานี พบว่าปัญหาใหญ่ที่พวกเขาประสบคือเรื่องความน้อยเนื้อต่ำใจ รู้สึกว่าโดนดูถูกเหยียดหยาม จึงยิ่งต้องรู้สึกอยากต่อสู้ร่วมกับเสื้อแดงเพื่อทวงสิทธิของคืน หรือทำให้เกิดการยุบสภา ความคับข้องที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เรื่องเศรษฐกิจ ทั้งในด้านภาววิสัยและอัตวิสัย
แต่ในแง่ความคับข้องใจนั้น กลับพบว่ามีความแตกต่างในแง่พื้นที่ เช่น ชาวนาในนครปฐมจะไม่รู้สึกคับข้องใจเท่ากับ คนเสื้อแดงในอุบลราชธานี จึงขอเรียกว่า "ปมอีสาน" ขณะที่เสื้อแดงเชียงใหม่นั้น ไม่มีความแน่ใจในอนาคตเช่นกัน แต่ไม่รู้สึกเหมือนเสื้อแดงอุบลฯ และในเรื่องความเป็นเมือง ก็ไม่มีความรู้สึกว่าตกเป็นอณานิคมของชาวกรุงอีกด้วย

ผศ.ดร.อภิชาต กล่าวถึงนโยบายประชานิยมว่า ในทุกโครงการประชานิยม เสื้อแดงจะได้รับบริการโดยตรงมากกว่า
คนแดงเช่นเสื้อ คนเสื้อแดง เช่น
โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เราพบว่าคนเสื้อแดงถึง 81% มารับบริการนี้
ขณะที่คนเสื้อเหลืองมีเพียง 54% เท่านั้น ดังนั้น
โครงการประชานิยมจึงโดนใจเสื้อแดงจริง อาจเป็นเพราะคนเสื้อแดงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพที่อยู่นอกระบบสวัสดิการรัฐและประกันสังคม นอกจากนี้ โครงการประชานิยมยังสามารถรองรับเรื่องที่ไม่คาดฝัน หรือ
ไม่ทันตั้งรับของทุกคนได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพ (โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค) ชนบท หรือด้านการเงิน (กองทุนหมู่บ้าน) เพราะตรงกับเศรษฐกิจยุคใหม่ในชนบท ซึ่งในปัจจุบันได้แปรเปลี่ยนไปหมดแล้ว ชาวนามีรถไถใช้แทบทุกครัวเรือน

"เมื่อถามต่อว่าคนเสื้อแดงออกมาประท้วงเพราะอะไร คำถาม 3 ข้อแรกได้แก่
1.เรื่อง 2 มาตรฐาน
2.ต่อต้านการรัฐประหาร และ
3.ต่อต้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
ส่วนเหตุผลเรื่องการต่อต้านอำมาตย์นั้นไม่มีเลย
ส่วนการต่อต้านการยากจนนั้น มีคนเลือกน้อยมาก ขณะที่ปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำนั้น ไม่มีคนเลือกเลย
ดังนั้น ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ จึงขอสรุปว่าการชุมนุมของคนเสื้อแดงนั้นมีเหตุผลมาจากความขัดแย้งทาง ด้านการเมืองเป็นหลัก โดยเฉพาะเรื่องสิทธิและความเท่าเทียม" ผศ.ดร.อภิชาต กล่าว

ผศ.ดร.ประภาศ กล่าวเสริม ผศ.ดร.อภิชาตว่า เราได้ขอสรุปใหญ่ว่า
คนเสื้อแดงไม่ใช่รากหญ้าแต่เป็นยอดหญ้า ที่เข้ามาสัมพันธ์กับเศรษฐกิจการตลาดและเมือง ที่เข้ามาชุมนุมกัน ดังนั้น อย่าไปบอกว่าเขาเป็นพวกวัวควายถูกจูงมา คนพวกนี้มีชีวิตสัมพันธ์กับการเมือง และการต่อรองใช้ทรัพยากรของรัฐ ดังนั้น
การเลือกตั้งจึงเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้พวกเขาสามารถเข้าถึงทรัพยากรของรัฐ ชีวิตต้องอยู่กับความเป็นจริง
การเลือกตั้งในช่วงประชาธิปไตยเต็มใบ ผู้คนก็ใช้ประโยชน์กันได้ ส่วนประชานิยมนั้น วงขอบก็ไม่ค่อยกว้างเท่าไหร่ เราจะเห็นชัดมาก ส่วนเรื่องนักการเมืองและ หัวคะแนน ถือเป็นเรื่องปกติที่ต้องมีทรัพยากรเชื่อมโยงเข้ามา ตนเลยค่อนข้างเห็นด้วยกับ ผศ.ดร.อภิชาตว่า การมาชุมนุมไม่ได้เกิดจากความคับข้องใจ แต่คนมาร่วมชุมนุมมาด้วยประโยชน์ ที่เกิดจากกระบวนการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตย ตนคิดว่าเขาเข้ามาเหมือนกลุ่มผลประโยชน์เพื่อเข้ามารักษานายกฯ หรือพรรคการเมืองที่เขาชื่นชอบ

"ขอสรุปว่า เสื้อแดงเกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ นโยบายและการเมือง ต่างไปจากการเมืองภาคประชาชนแบบสมัชชาคนจน เสื้อแดงเป็นมวลชนอีกมิติหนึ่ง ที่น่าสนใจมาก มีลักษณะเป็นเหมือนที่ ผศ.ดร.อภิชาตพูดไว้
คนเหล่านี้เกิดขึ้นมาเพราะมีพื้นที่ทางการเมืองใหม่ๆ ขึ้นมา ทำให้ชีวิตพวกเขาที่เขาเข้าไปสัมพันธ์กับการเมืองได้มากขึ้น เข้ามาสัมพันธ์กับพวกหัวคะแนนและนักการเมือง และกลไกพวกนี้ก็สำคัญในการกระจายทรัพยากรของรัฐ ทำให้ชีวิตของเขาทำมาหากินได้มากขึ้น
ไม่มีชาวบ้านที่ไหนที่จะออกมาเดินขบวนด้วยเงินของตัวเอง เราพบว่าแกนนำหลักๆ หลายรายก็หมดเนื้อหมดตัวกันไปเหมือนกัน" ผศ.ดร.ประภาศ กล่าว


ขณะที่ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ กล่าวว่า
ตนจะมาพูดเรื่องใหม่ใน 4 เรื่อง ได้แก่ ความโกรธ ข่าวลือ สี และการก่อการร้ายที่รัฐบาลชอบพูด

1.เริ่มจากความโกรธก่อน ความโกรธมักเกิดจากการผิดหวัง สิ่งที่ทำลายความคาดหวังมีอยู่หลายอย่าง ตอนนี้กำลังระบาดไปทั่ว สามารถมาจากความรักหรือความชังก็ได้ ขบวนการทางการเมืองที่เราเห็นเป็นขบวนการทางการเมือง ที่เต็มไปด้วยอารมณ์ อารมณ์ทางการเมืองเป็นปัจจัยที่น่าสนใจมาก เราจะไม่สามารถเข้าใจการเมืองได้ ถ้าเราไม่เข้าใจความโกรธและวิธีที่อารมณ์ทำงานในสังคมการเมือง

2.ข่าวลือ นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ลักษณะพิเศษของข่าวลือคือความไม่แน่นอน ซึ่งความไม่แน่นอนนั้น เป็นอาวุธที่ทรงพลังมากในความขัดแย้งทุกชนิด เวลาสู้กับรัฐและสิ่งที่รัฐพยายามจะทำ คือ รัฐใช้กระบวนการเฝ้ามองและควบคุมที่เน้นความแน่นอน ข่าวลือเป็นอะไรที่ไม่แน่ใจและสามารถเลื่อนไหลได้ ดังนั้น จึงแปลได้ว่า เมื่อคนจำนวน 3,000 คน เดินออกจากวัดปทุมวนารามและกลับไปอยู่ในชุมนุม
ก็จะมีเรื่องเล่าอยู่ 3,000 เรื่อง และเมื่อมีคนฟัง เรื่องราวก็จะเดินทางไปอีกหลายลักษณะ จะเป็นการเปิดโอกาส ให้ทุกคนสามารถเพิ่มตอนต่างๆ เข้าได้ไป ในลักษณะที่พิศดารมากขึ้น ทั้งน่าสนใจและควบคุมไม่ได้ นอกจากนี้ ถ้ายิ่งถูกจำกัดเท่าไหร่ ข่าวลือก็ยิ่งควบคุมยากขึ้นเท่านั้น

ศ.ดร.ชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า

3.การก่อการร้าย สาระสำคัญของการก่อการร้ายไม่ใช่ความรุนแรง แต่สาระสำคัญ คือ
ความกลัวการก่อการร้ายไม่ได้ผลิตความรุนแรง แต่ผลิตความกลัวและความไม่แน่นอนในชีวิตสังคมการเมืองทุกชนิดทำงานภายใต้ฐานของความแน่นอนบางประการถ้ามีสิ่งมารบกวนจะทำให้สังคมการเมืองนั้นอยู่ได้อย่างลำบาก ความกลัว การก่อการร้ายไม่ได้ผลิตความรุนแรงแต่ผลิตความกลัว และความไม่แน่นอนในชีวิต สังคมการเมืองทุกชนิดทำงานภายใต้ฐานของความแน่นอนบางประการ ถ้ามีสิ่งมารบกวน จะทำให้สังคมการเมืองนั้นอยู่ได้อย่างลำบาก
แต่ทุกครั้งที่รัฐบาลใช้วาทกรรมเรื่องการก่อการร้าย ตนไม่ทราบว่ารัฐบาลรู้หรือไม่ว่า การก่อการร้ายเป็นสงครามที่ไม่มี ที่สิ้นสุด เพราะคู่ต่อสู้มันมีอยู่ไม่สิ้นสุด เพราะเป็นการต่อสู้กับวิธีการ ไม่ใช่การต่อสู้กับคน ดังนั้น เราควรเรียนรู้จากอิสราเอล กล่าวคือเราควรต้องป้องกันไม่ให้ประชาชนกลายเป็นผู้ก่อการร้าย ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด และ

4. สีความขัดแย้งทางการเมืองต้องอาศัยอัตลักษณ์การขัดแย้งทางการเมืองในหลายที่โดยเฉพาะในกลุ่มชาติพันธุ์ สี ความขัดแย้งทางการเมืองต้องอาศัยอัตลักษณ์ การขัดแย้งทางการเมืองในหลายที่โดยเฉพาะในกลุ่มชาติพันธุ์
สีผิวเป็นเรื่องสำคัญ แต่สีผิวกับสีเสื้อมันต่างกันตรงที่สีผิวสามารถเปลี่ยนได้ยากเสื้อกลายเป็นสัญลักษณ์บางอย่าง สีผิวเป็นเรื่องสำคัญ แต่สีผิวกับสีเสื้อมันต่างกันตรงที่สีผิวสามารถเปลี่ยนได้ยาก เสื้อกลายเป็นสัญลักษณ์บางอย่าง
เราเอาความโกรธไปใส่กับสัญลักษณ์เป็นการแบ่งขั้วในสังคมไทยซึ่งนับว่าอันตรายในสังคมไทยเหมือนกัน เราเอาความโกรธไปใส่กับสัญลักษณ์ เป็นการแบ่งขั้วในสังคมไทย ซึ่งนับว่าอันตรายในสังคมไทยเหมือนกัน


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1276522254&grpid=01&catid = http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1276522254&grpid=01&catid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น