.

***อนิจา วาสนา ไพร่***

เรียกร้องเถอะ ร่ำหา กันให้ตาย
เคยบ้างไหม เคยได้ สิ่งที่หวัง
กราบแทบเท้า ติดดิน ร้องเสียงดัง
มีสักครั้ง บ้างไหม ใครเมตตา

สิ่งที่ขอ รอมา กี่ชาติแล้ว
ไร้วี่แวว สิทธิ ที่ใฝ่หา
เป็นแค่ไพร่ เขาชี้ เป็นอีกา
อย่าได้มา ร่วมหงส์ ดงผู้ดี

ร้องขอมา กี่ปี กี่ชาติแล้ว
ก็ไม่แคล้ว โดนด่า ฆ่าทุบตี
จากปู่ย่า มาถึง ทุกวันนี้
ถูกย่ำยี ไล่บี้ ให้จำนน

ตายแล้วสิบ เกิดใหม่ ได้เป็นแสน
แต่ขาแขน ถูกตรึง ด้วยเล่ห์กล
แล้วเมื่อไหร่ สิ่งนี้ จะหลุดพ้น
รับกฏโจร กฏหมาย ไร้ปราณี

อนิจา วาสนา ชะตาไพร่
ถูกใส่ร้าย กล่าวหา ว่าบัดสี
ทั้งหมอบกราบ ก้มไหว้ อย่างภักดี
แพ้วจี คนโฉด โป้ปดลวง

คงถึงครา แล้วหนา บรรดาไพร่
แม้ร่ำไห้ ร้องขอ ก็ช้ำทรวง
เขาไม่แล พวกเรา ไพร่ทั้งปวง
ต้องวัดดวง ทวงค่า ความเป็นคน

โดย ยรรยง ลูกชาวดิน
7 / มีนาคม / 2553
........

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประเทศไทยตอนนี้ปกครองด้วยระบอบอะไร

คอลัมน์ ชาวดิน ออนเน็ต

 จากเรื่องราวที่กล่าวมาแม้นเพียงบางส่วนจากแหล่งข้อมูลที่บันทึกไว้ วันนี้กับเหตุบ้านการเมืองในเมืองไทยและความแตกแยกแตกต่างทางความคิด เราก็สามารถจะมองเห็นว่า ต้นเหตุแห่งปัญหานั้น ทุกเรื่องมีความเกี่ยวพันกันมา ด้วยการสืบทอดสานต่อเจตนา เพียงแต่มีผลประโยชน์ที่เรียกว่า ความชอบธรรม เป็นข้ออ้าง แต่ใช่ว่าจะไม่ดี เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นมานั้น ทำให้คน หลายกลุ่ม หลายอาชีพ หลายระดับทุกชนชั้น ได้แสดงตัวตน และ จริตทางสังคมออกมาให้เห็น เป็นเช่นไร


 แต่คนที่ต่อสู้เรียกร้องอย่างจริงจัง ทุกวันนี้ คนเหล่านั้น ยังไม่เคยได้รับสิ่งที่เรียกร้องอย่างจริงจังจริงใจ เลยสักครั้งเดียว นอกจากสิ่งที่ได้รับมาตลอด คือ ความสูญเสีย ที่จบลงด้วย เสียงปืน กลิ่นคาวเลือด หยดน้ำตา ที่สะสมเพิ่มพูนความเจ็บปวดเคียดแค้นไว้ในใจตลอดมา ต้องยอมรับว่านี่คือความจริง จะเสแสร้งแสดงออกต่อกันอย่างไรก็หนีไม่พ้น


การเรียกร้องการต่อสู้ที่กำหนดต้นแบบไว้ด้วย ตัวบุคคล ที่เหลือเพียงแต่ ชื่อ คงเป็นไปอีกนาน การเปลี่ยนแปลง คงเกิดขึ้นยากมาก เพราะหากการเรียกร้องที่มีการพัฒนาแตกต่างไปจากที่เห็นนี้ (ที่มีแนวคิดนี้อยู่บ้างที่ผ่านมา) จะถูกมองและกล่าวหาว่า จาบจ้วง ดูหมิ่น มาทันที จากคนอีกฝ่ายที่คิดต่าง นั่นคือจุดที่ทำให้เกิดวาทะกรรมตอบโต้กันมากมายและเป็นที่มาของการอ้างความชอบธรรมในการใช้อำนาจัดการ โดย ไม่ได้มองถึงความเป็นจริง ว่า ความเดือดร้อน ที่คนในแผ่นดินนี้ได้รับนั้น ทุกข์ยากสาหัสเพียงใด แต่กับเลือกที่จะตัดสินแบบ ชี้นกเป็นไม้ ว่า คนส่วนไหน ระดับไหน ชนชั้นไหน ที่เดือดร้อนมากน้อยกว่ากัน สำคัญมากกว่ากัน

( ต่อให้คนไหน อมพระประธานมาพูดได้ แล้วโต้แย้งว่า ไม่จริงกับข้อกล่าวนี้ ผมไม่เชื่อหรอก เพราะถ้าไม่เลือกปฏิบัติจริง ประเทศนี้เจริญมากกว่านี้แน่นอน)

 การแก้ปัญหาปลายเหตุด้วยการอ้าง ให้คนไทยสำนึกบุญคุณแผ่นดิน ต่างๆนาๆที่กำลังทำ ปัจจุบันนี้ มิถุนายน 2553 ด้วยการหลอกลวง โปรโมทโฆษณา โชว์หน้าตา ดารา นักร้อง นักแสดง ที่ออกมาออดอ้อน ขอ ความสุข ความสามัคคี ความสงบสุข หยุดความรุนแรง... น่าสมเพชจริงๆครับ เพราะเหมือนว่าคนพวกนี้ พึ่งโผล่มาจากหลุม หรือไม่ก็เป็น พวกมนุษย์ไขลาน หรือ พวกที่ ถูกมนต์สกด ที่เขาสั่งบงการให้มาพูด มาร้อง มาแสดงออก อย่างไร ก็ทำ ว่าต้องการอะไร



 เพราะที่ผ่านมาไม่รู้สึกรู้สา หรือรู้ถึงความต้องการ รับรู้ถึงความทุกข์ยากลำบาก ของคนที่ออกมาเรียกร้อง ขอความเป็นธรรมและบอกเล่าความทุกข์ ที่เขาได้รับผลกระทบกับสภาพความเป็นอยู่ในกฏกติกาบ้านเมืองในปัจจุบัน เคยเช้าใจและสนใจให้ความสำคัญกันบ้างไหม ว่าคนเหล่านั้นเขาต้องการอะไร และสามารถให้เขาได้ไหม ผลที่เขาได้รับคืออะไร บาดเจ็บ ล้มตาย สูญหาย ... แต่คนบ้ากลุ่มหนึ่งกับมาอ้างแต่ผลเสียผลกระทบกับการประกอบอาชีพต่างๆนาๆ อย่างชนิดที่ทุ่มทุนสร้างข่าวทุกชั่วโมง เพื่อหาความชอบธรรมให้ตัวเองและพวกพ้อง


โดยลืมมองว่าคนที่ออกมาเหล่านั้นเขาได้รับผลกระทบเดือดร้อนอะไรบ้างในการดำรงอยู่ภายใต้อำนาจดูแลของกลุ่มคน ที่เขาออกมาต่อต้าน และเรียกร้องขอ ...  โอ้ย พระเจ้าถูกทอด ... ปรองดองมากๆ..!!


...แบบนี้ ประเทศไทย อยู่ในระบอบประชาธิปไตย จริงหรือ...??


โดย ยรรยง ลูกชาวดิน
26/มิถุนายน/2553




ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (อังกฤษ: Absolute Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย กล่าวคือ ที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คำสั่ง ความต้องการต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมาย[1] กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ โดยไม่มีกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใด ๆ จะห้ามปรามได้ แม้องค์กรทางศาสนาอาจทัดทานกษัตริย์จากการกระทำบางอย่างและองค์รัฏฐาธิปัตย์ (กษัตริย์) นั้นจะถูกคาดหวังว่าจะปฏิบัติตามธรรมเนียม แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด ๆ ที่จะอยู่เหนือกว่าคำชี้ขาดของรัฏฐาธิปัตย์ ตามทฤษฎีพลเมืองนั้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มอบความไว้วางใจทั้งหมดให้กับพระเจ้าแผ่นดินที่ดีพร้อมทางสายเลือดและได้รับการเลี้ยงดูฝึกฝนมาอย่างดีตั้งแต่เกิด


ในทางทฤษฎี กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะมีอำนาจทั้งหมดเหนือประชาชนและแผ่นดิน รวมทั้งเหนืออภิชนและบางครั้งก็เหนือคณะสงฆ์ด้วย ส่วนในทางปฏิบัติ กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มักจะถูกจำกัดอำนาจ โดยทั่วไปโดยกลุ่มที่กล่าวมาหรือกลุ่มอื่น
กษัตริย์บางพระองค์ (เช่นจักรพรรดิเยอรมนี ค.ศ. 1871–1918) มีรัฐสภาที่ไม่มีอำนาจหรือเป็นเพียงสัญลักษณ์ และมีองค์กรบริหารอื่น ๆ ที่กษัตริย์สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยุบเลิกได้ตามต้องการ แม้จะมีผลเท่ากับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่โดยทางเทคนิคที่เป็นไปได้แล้ว นี่คือราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) เนื่องจากการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายพื้นฐานของประเทศ
ประเทศที่ใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบันคือ ซาอุดิอาระเบีย บรูไน โอมาน รวมทั้ง นครรัฐวาติกัน ด้วย



ประเทศไทยเคยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองแผ่นดิน ดังคำกล่าวที่ว่า

"พระบรมราชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดิน กรุงสยามนี้ไม่ได้ปรากฏในกฎหมายอันหนึ่งอันใด ด้วยเหตุที่ถือว่าเป็นที่ล้นพ้น ไม่มีข้อสั่งอันใดจะเป็นผู้บังคับขัดขวางได้

เมื่อมีการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัชกาลที่ 7 และเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2475 แล้ว ในทางนิตินัย พระราชอำนาจที่เคยมีมาอย่างล้นพ้นได้ถูกจำกัดลงให้อยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ



ในสมัยโบราณ ไม่ปรากฏคำ "สมบูรณาญาสิทธิราชย์" ในภาษาไทยคำนี้ เกิดขึ้นจากการบัญญัติศัพท์ โดยแปลจาก "absolute monarchy" ในภาษาอังกฤษ เพื่อใช้แทนที่คำว่า "แอบโซลูดโมนากี" ซึ่งเป็นคำทับศัพท์เดิม โดยการสมาสศัพท์ดังต่อไปนี้
  • สมฺบูรณ (สันสกฤต : เป็นคำนฤคหิตสนธิจากคำว่า สํ+ปูรณ) - บริบูรณ์ , ครบถ้วน , ทั้งหมด , เด็ดขาด , สิ้นเชิง
  • อาญา (บาลี : อาณา , สันสกสกฤต : อาชญา) - อำนาจ , โทษ
  • สิทฺธิ (บาลี , สันสกฤต) - อำนาจอันชอบธรรม , ความสำเร็จ , อิสระ
  • ราชย (บาลี , สันสกฤต แผลงรูปมาจากคำว่า ราช) - ความเป็นกษัตริย์
เมื่อรวมกันแล้ว จึงมีความหมายว่า "ฐานะความเป็นพระมหากษัตริย์อันทรงสิทธิอำนาจเด็ดขาดทั้งปวง" นั่นหมายความถึง การที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าชีวิตเหนือไพร่ฟ้าทุกคน พระองค์สามารถให้โทษหรืออภัยโทษแก่ผู้ใดก็ได้ในพระราชอาณาจักรของพระองค์เอง

....................


สังคมในสมัยอยุธยาประกอบด้วย พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ ไพร่ ทาส และพระสงฆ์โดยมีอำนาจและหน้าที่ที่แตกต่างกันไป

ชนชั้นผู้ถูกปกครอง

                  
ไพร่    คือ ราษฎรทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเจ้านาย ขุนนาง และทาส   บุคคลกลุ่มนี้มีมากที่สุดในสังคม ชายฉกรรจ์ทุกคนเมื่อมีอายุถึงกำหนดเริ่มตั้งแต่ ๑๘ หรือ ๒๐ ปี ต้องไปขั้นทะเบียนสังกัดมูลนาย มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับมา ทั้งในภาวะที่สังคมสงบหรือมีสงคราม    โดยที่ไม่มีการให้ค่าตอบแทนแต่อย่างใด

ไพร่แบ่งออกเป็นหลายประเภท ได้แก่

                      
 - ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่ที่ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์โดยตรง ถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานตามที่ราชการกำหนด ซึ่งพระมหากษัตริย์จะแบ่งให้ไปทำงานในกรมหรือกองต่างๆ เข้าเวรทำงานตามเวลาที่ถูกกำหนด คือ ๖ เดือนต่อปี (เข้าเดือนออกเดือน)

                       
 - ไพร่ส่วย หมายถึง ไพร่ที่ส่งเงินหรือสิ่งของมาแทนตัวของไพร่แทนการทำงาน  เพื่อชดเชย อาจเนื่องจากอยู่ไกลจากเมืองหลวง     เข้ามารับราชการไม่สะดวก ตั้งแต่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีการส่งเงินมาแทนแรงงานมากขึ้น เงินที่ส่งมานี่เรียกว่า เงินค่าราชการ เก็บในอัตราเดือนละ ๒ บาท หรือปีละ ๑๒ บาท
                       
 - ไพร่สม หมายถึง ไพร่ที่ขึ้นต่อขุนนางและข้าราชการต่างๆ เพื่อทำงานรับใช้โดยตรงไพร่นี้จะตกเป็นของมูลนายนั้นจนกว่ามูลนายจะถึงแก่กรรม ไพร่สมจะถูกโอนมาเป็นไพร่หลวง แต่บุตรของมูลนายเดิมมีสิทธิยื่นคำร้องของควบคุมไพร่สมนี้ต่อจากบิดาก็ได้
             
สิทธิทั่วไปของไพร่     เช่น     ไพร่จะอยู่ภายใต้สังกัดของมูลนายคนใดคนหนึ่งได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย    ไพร่ไม่สามารถย้ายสังกัดได้

       นอกจากมูลนายของตนจะยินยอม ที่ดินของไพร่สามารถสืบทอดไปยังรุ่นต่อไป แต่ถูกจำกัดสิทธิในการย้ายที่อยู่ และต้องขึ้นทะเบียนตามภูมิลำเนาของตน เป็นต้น หลังจากที่เข้าเวรทำงานครบ ๖  เดือนแล้ว สามารถกลับไปอยู่กับครอบครัวเพื่อประกอบอาชีพในครอบครัวได้อิสระ  เว้นแต่ในยาม สงคราม

............................



 


ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 เป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย

(บทความยกมาบาง)


วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ชายคนนี้ชื่อ จิตร ภูมิศักดิ์

ไฟล์:Chit.jpg

จิตร ภูมิศักดิ์

 เป็นนักคิดด้านการเมือง นักประวัติศาสตร์ และนักภาษาศาสตร์ นับเป็นนักปราชญ์และนักปฏิวัติทางความคิดและวิชาการคนสำคัญของประเทศไทย จิตรเป็นนักวิชาการคนแรกๆ ที่กล้าถกเถียงและคัดค้านปราชญ์คนสำคัญ ด้วยวิธีคิดที่มีเหตุผลและลุ่มลึก มีความโดดเด่นจากผลงานการค้นคว้าทางวิชาการที่แปลกใหม่และลึกซึ้ง ขณะเดียวกันจิตรยังมีความคิดต่อต้านระบบเผด็จการและการใช้อำนาจกดขี่ของชนชั้นสูงมาโดยตลอด
จิตรเป็นบุตรของ นายศิริ ภูมิศักดิ์ และนางแสงเงิน ภูมิศักดิ์ มีชื่อเดิมว่า สมจิตร ภูมิศักดิ์ แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็น จิตร เพียงคำเดียว ตามนโยบายตั้งชื่อให้ระบุเพศชายหญิงอย่างชัดเจน ของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
จิตรเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2509 หลังเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และถูกอาสาสมัครและทหารล้อมยิง

....................................................
จิตร ภูมิศักดิ์
เกิดเมื่อ 25 กันยายน   พ.ศ.2473  ต. ประจันตคาม  อ.ปรจันตคาม จ. ปราจีนบุรี

เมื่อปี พ.ศ. 2479 จิตรติดตามบิดา ซึ่งรับราชการเป็นนายตรวจสรรพสามิต เดินทางไปรับราชการยังจังหวัดกาญจนบุรี และเข้ารับการศึกษาชั้นประถม ที่โรงเรียนประจำจังหวัดแห่งนั้น จิตรย้ายมาอยู่ที่สมุทรปราการ เมื่อปี พ.ศ. 2482 บิดาของจิตรย้ายไปรับราชการในเมืองพระตะบอง ซึ่งสมัยนั้นเป็นเมืองในการปกครองของไทย (ปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของกัมพูชา) จิตรจึงย้ายตามไปด้วย และได้เข้าศึกษาชั้นมัธยมที่นั่น
ถึงปี พ.ศ. 2490 ประเทศไทย ต้องคืนดินแดนเมืองพระตะบองให้กัมพูชา จิตรจึงอพยพตามมารดากลับเมืองไทย ส่วนบิดานั้นไปเริ่มชีวิตครอบครัวใหม่กับหญิงอื่นๆ ระหว่างที่ครอบครัวภูมิศักดิ์ ยังอยู่ที่พระตะบอง นางแสงเงินเดินทางไปค้าขายที่จังหวัดลพบุรี ขณะที่จิตรและพี่สาว เดินทางมาศึกษาต่อในกรุงเทพมหานคร โดยจิตรเข้าเรียนที่โรงเรียนเบญจมบพิตรหรือโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน และสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในที่สุด


แนวคิดและการต่อสู้

ชื่อเสียงของ จิตร ภูมิศักด์ น่าจะโด่งดังในสาธารณชนวงกว้างเป็นครั้งแรก จากกรณี โยนบก เมื่อครั้งที่เขาเป็นสาราณียากร ให้กับหนังสือประจำปี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2496 ในครั้งนั้นเขาได้เปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่ "ซ้ำ ๆ ซาก ๆ" ของหนังสือประจำปี โดยลงบทความสะท้อนปัญหาสังคม ประณามผู้เอารัดเอาเปรียบในสังคม ซึ่งรวมถึงรัฐบาลด้วย รวมทั้งชี้ให้เห็นค่านิยมอันไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้คนนับถือกันมานาน โดยบทความเหล่านั้น มีทั้งที่จิตรเขียนเอง ร่วมแก้ไข หรือเพื่อน ๆ คนอื่นเขียน ผลก็คือระหว่างการพิมพ์หนังสือได้ถูกตำรวจสันติบาลอายัด และมีการ "สอบสวน" จิตรที่หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเหตุการณ์นั้น จิตรถูกกลุ่มนิสิตที่นำโดยนายสีหเดช บุนนาค คณะวิศวกรรมศาสตร์ตั้งศาลเตี้ยจับ "โยนบก" ลงจากเวทีหอประชุม ทำให้จิตรได้รับบาดเจ็บต้องเข้าโรงพยาบาลและพักรักษาตัวอยู่หลายวัน ต่อมาทางมหาวิทยาลัยได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาโทษและมีมติให้จิตร ภูมิศักดิ์ถูกพักการเรียนเป็นเวลา 1 ปี คือในปี พ.ศ. 2497
ระหว่างถูกพักการเรียน จิตรได้ไปสอนวิชาภาษาไทยที่โรงเรียนอินทร์ศึกษา แต่สอนได้ไม่นาน ก็ถูกไล่ออกไป เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีหัวก้าวหน้ามากเกินไป จิตรจึงไปทำงานกับหนังสือพิมพ์ไทยใหม่ ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง ที่จิตรได้สร้างสรรค์ผลงานการวิจารณ์ที่มีคุณค่าต่อวงวิชาการไทยหลายเรื่อง เช่น การวิจารณ์วรรณศิลป์ วิจารณ์หนังสือ วิจารณ์ภาพยนตร์ โดยใช้นามปากกา "บุ๊คแมน" และ "มูฟวี่แมน"
ปี พ.ศ. 2498 เขากลับเข้าเรียนอีกครั้งและสำเร็จปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิตในปี พ.ศ. 2500 จากนั้นก็เข้าเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์และศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร จนกระทั่งถูกจับในข้อหา "สมคบกันกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายใน และภายนอกราชอาณาจักรและกระทำการเป็นคอมมิวนิสต์" เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เขาถูกคุมขังอยู่จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2507 จึงได้รับการปลดปล่อยและพ้นจากข้อหาของทางการ
เนื่องจากเขาถูกติดตามคุกคามจากทางการและเจ้าหน้าที่บ้านเมืองอย่างหนักทำให้เดือนตุลาคม พ.ศ. 2508 จิตรได้เดินทางสู่ชนบทภาคอีสาน เพื่อเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในนาม สหายปรีชา ต่อมาถูกอดีตกำนันตำบลคำบ่อ อาสาสมัคร และทหาร ล้อมยิงจนเสียชีวิต ตายด้วยกระสุนปืนที่ทุ่งนากลางป่าละเมาะ บ้านหนองกุง ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509



จิตรมีความสามารถในด้านภาษาศาสตร์และนิรุกติศาสตร์อย่างมาก และยังมีความสามารถระดับสูงในด้านอื่น ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ถือว่าเป็นอัจฉริยะบุคคลของไทยคนหนึ่ง ในด้านภาษาศาสตร์นั้น จิตรมีความเชี่ยวชาญในภาษาฝรั่งเศส ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร โดยเฉพาะภาษาเขมรนั้น จิตรมีความเชี่ยวชาญทั้งภาษาเขมรปัจจุบันและภาษาเขมรโบราณด้วย นอกจากนี้ จิตรได้เขียนพจนานุกรมภาษาละหุ (มูเซอ) โดยเรียนรู้กับชาวมูเซอขณะอยู่ในคุกลาดยาว ในตอนแรก ชาวมูเซอไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ จิตรเองก็ไม่สามารถพูดภาษามูเซอได้เช่นกัน แต่ด้วยความสามารถ เขาสามารถเรียนรู้ระบบของภาษา และนำมาใช้ได้อย่างน่าอัศจรรย์


งานเขียนชิ้นเด่น


ผลงานที่มี * ข้างท้าย หมายถึงถูกคัดเลือกให้อยู่ใน หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน


นามปากกาของจิตรมีเป็นจำนวนมาก เช่น นาคราช1, ศูลภูวดล1, ศรีนาคร, ทีปกร, สมสมัย ศรีศูทรพรรณ1, ศิลป์ พิทักษ์ชน, สมชาย ปรีชาเจริญ, สุธรรม บุญรุ่ง, ขวัญนรา, สิทธิ ศรีสยาม1, กวีการเมือง, กวี ศรีสยาม, บุคแมน, มูฟวี่แมน (มูวี่แมน) , ศิริศิลป์ อุดมทรรศน์1, จักร ภูมิสิทธิ์2
หมายเหตุ: 1 หมายถึง ใช้เพียงครั้งเดียว, 2 เป็นคำผวนของชื่อ จิตร ภูมิศักดิ์



จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันนี้ในอดีต: 5 พฤษภาคม, เว็บไซต์นิตยสารสารคดี

โครงการจัดพิมพ์สรรพนิพนธ์ ของจิตร ภูมิศักดิ์ รวบรวมผลงานเขียนของจิตร ภูมิศักดิ์

 คลิปวีดีโอประวัติจิตร ภูมิศักดิ์ จัดทำโดยกลุ่มแรงคิด


ผลงานกวี  นิพนธ์ของ จิตร ภูมิศักดิ์  ได้รับการรวบรวมหลายครั้ง ต่างกรรม
ต่างวาระ  หนังสือ "กวีการเมือง"  เป็นหนังสือที่ตีพิมพ์รวมผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์ ที่เขียนขึ้น
ระหว่างถูกจำคุกอยู่ในคุกลาดยาว ด้วยข้อหาทางการเมือง  ภาคแรกของผลงานชุดนี้เป็นบทกวี
การเมือง  ที่ได้ลักลอบนำมาลงพิมพ์ในหนังสือ "ประชาธิปไตย"  ประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๗  ต่อมา
ได้มีผู้นำลงพิมพ์อีกครั้งใน "เศรษฐกร" พ.ศ.๒๕๑๔  สำหรับส่วนภาคที่สอง เป็นบทความทาง
ความคิดเกี่ยวกับศิลปกรรมในแง่มุมต่างๆ คัดมาจากหนังสือสารเสรี ในนามปากกา ซึ่งใช้เวลา
ขณะนั้น "สมชาย ปรีชาเจริญ"  เขียนขึ้นระหว่าง พ.ศ.๒๕๐๐-๒๕๐๑  กลุ่มแนวร่วมนักศึกษา
เชียงใหม่  จัดรวบรวมบทกวีและบทความนี้ขึ้นเป็นรูปเล่มออกเผยแพร่  ในท่ามกลางสถานการณ์
ร้อนทางการเมืองของไทย หลังเหตุการณ์เรียกร้องรัฐธรรมนูญหรือเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ราว
ครึ่งปี

บทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ เป็นบทกวีวิพากษ์วิจารณ์สภาพเศรษฐกิจสังคมและการเมือง
ไทย ในช่วง พ.ศ.๒๕๐๐  ที่สังคมไทยอยู่ภายใต้อำนาจเผด็จการทหาร เต็มไปด้วยการโกงกินของ
ผู้อยู่ในอำนาจปกครอง  อีกทั้งการครอบงำตลอดจนการ 'เอาเปรียบ' จากลัทธิจักรวรรดินิยม

กลอนหกที่ น.ม.ส. ได้คิดขึ้นมาเพื่อสื่อสารกวี ที่มีความกระชับรัดกุมแผกไปจากกลอน
แปดนั้น จิตรนำมาเพิ่มสัมผัสในแบ่งวรรคในแต่ละบาทเพิ่มเสียงสัมผัสเอกโท และเลือกภาษาเสียด
สีแบบชาวบ้านมาใส่ไว้  จนเกือบจะใช้เป็นบทร้องสำหรับแสดงละครได้ดังเช่น บทนี้
 

  ไร่นา ป่าดง พงพฤกษ์    ขุนศึกเขมือบสิ้นกินดิบ
ทุ่งนา ป่ารัฐ ภูริบ            โอนกันงุบงิบง่านงก
     กวีการเมือง, (หน้า ๑๔)

ในบทถัดมาชื่อ หนุมานอมพลับพลับ  จิตรได้นำเข้าปัญหาการคอร์รัปชั่นมาล้อเลียน
แต่งไว้ในรูป โคลงสี่สุภาพ ซึ่งบัดนี้ไม่สุภาพ เสียแล้ว ความว่า

"โอม....
หนุมานกลับชาติฟื้น ขึ้นมา มาฮา
กูไป่อมพลับพลา ดอกเฮ้ย
กูลิงยุคพัฒนา ฤทธิ์มาก (โอยพ่อ!)
กองสลากฯ ตะหากเว้ย... ว่าแล้ว อมเสีย"
กวีการเมือง, (หน้า ๒๐)

ตามประเพณีการแต่งบทกวีนั้น การแต่งโคลงสรรเสริญเกียรติหากขึ้นต้นด้วยร่ายก็
มักจะตามมาด้วย โคลง กาพย์ หรือฉันท์ อันเป็นแผนกกวีนิพนธ์สืบทอดมาแต่โบราณ  แต่จิตร
กบฏต่อแบบแผนนี้ ได้นำ เพลงกลองยาว และกลอน เพลงฉ่อย ซึ่งเป็น ของพื้นบ้าน มาวางเรียง
ไว้ต่อจากร่ายและโคลงสี่ (ไม่) สุภาพ

ดังนี้
"บ็อง บ็อง บ็อง
เอ้ามาละโหวย เอ้ามาละวา เจ้าพญาลิงลม ไม่ยักกะอมพลับพลา
หนุมานยุคใหม่ ยุคไทยพัฒนา ตะละล้า...
เอ้ามีอำนาจ ก็เที่ยวกวาดแผ่นดิน ไม่ต้องทำกิน ก็รวยขึ้นมา
ตะละล้า...
เอ้ากินโขมง เอ้าโกงขม้ำ ยงโย่ยงหยก ก็เลยหกคะมำ ทั่วทั้งเมืองไทย
เขาเห็นไต๋ดำดำ หุยฮา! หุยฮา!"
กวีการเมือง, (หน้า ๒๐)

โคลงห้าพัฒนา เป็นผลงานของจิตรที่รู้จักกันดีว่าเขาเป็นผู้คิดขึ้นมาโดยพัฒนามา
จากโคลงห้า ซึ่งเป็นโคลงโบราณยุคเก่าของชนชาติไทย-ลาว เขาใช้โคลงห้ามากแห่งในจังหวะ
ความคิดและอารมณ์ที่ต้องการความเด็ดขาด-เข้มแข็ง-จริงจัง ดังเช่นในบท คาวกลางคืน
สะท้อนใจเหลือเกินต่อชีวิตกลางคืนกรุงเทพฯ ที่ คาว จนไม่น่าเชื่อว่าที่นี่เมืองไทย

กรุงเทพฯคลุ้ง คาวหืน
ควันกามกลืน กลบไหม้
คาวกลางคืน คลุมทาบ
เมืองร้องไห้   เหือดขวัญฯ
น้ำฟ้าฟาด ฟองหาว
คือกามฉาว ชุ่มฟ้า
กลิ่นสาปสาว กำซาบ
กามย้อมหล้า แหล่งสยามฯ
กวีการเมือง, (หน้า ๓๔)

ในโคลงสี่สุภาพขยายความ คาวกลางคืน เป็นอีกบทหนึ่งซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ผู้แต่ง
เอาใจใส่สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วอย่างถี่ถ้วน เขาไม่ใช่กวี นักวิชาการ ที่ห่างเหินต่อ
ความรู้ทางสังคม เป็นงานที่เขียนเพื่อรับใช้ยุคสมัยผลักดันการเปลี่ยนแปลงเป็นปากเสียง
เป็นอาวุธทางศิลปวรรณคดี ต่อสู้ในแนวรบนี้อย่างแท้จริง

กรุงสยามคาวกว่าคลุ้ง คาวปลา
จอมถ่อยกลืนกามา เมือบม้าม
"บังเงา" ทาสแมงดา เดียวดาด
ภายนอกกฎหมายห้าม หุบเข้าเงาแฝง
มีนางโทรศัพท์เนื้อ นวลหวาน
แม่ม่ายผัวเผลอบาน แบะท่า
มีเรือเร่สำราญ เริงสวาท
แสนแสบแสบกามบ้า กลิ่นคลุ้งคาวคลอง
บริการอาบน้ำนวด เนืองนันต์
สาวหนุ่มนวดกันกระสัน  แสบไส้
ตัดผมยุคใหม่มัน ลืมเมื่อย จริงพ่อ
"คุณตัดแล้วนวดมั้ย... นวดมั้ยหมอสาว?"
จาก กวีประชาชน, (หน้า ๓๕)

งานของจิตร ภูมิศักดิ์ นั้นมักสร้างสรรรูปแบบที่สามารถและจงใจจะสื่อความหมาย
สื่อความรู้สึกได้ตรงและดี มากกว่าที่จะติดยึดอยู่กับรูปแบบตายตัวที่สืบทอดกันมา ผู้แต่งมัก
นิยมใช้คำหรือความแทรกลงในบทกวีแต่ละบทแต่ละตอนในแบบแผน นอก รูปแบบที่เคยมี ดัง
เช่น โคลงสี่สุภาพใน วิญญาณสยาม ซึ่งแสดงสะท้อนใจต่อการปกครองระบอบเผด็จการ
ดังนี้

"สยองเสียงปีศาจก้อง  กรรหาย หิวเอย
สยามลั่นทรุดฟูมฟาย     ฟุบหน้า
แสยงภัยกราบภัยตาย.... ตายราบ ฉะนี้ฤา
ยอมสยบซบให้หล้า        โลกเย้ยฤาสยาม
อหา สยามเอ๋ย....จักสยบซบให้หล้า โลกเย้ย
....ให้โลกเย้ย ฤาสยาม?"
กวีการเมือง, (หน้า ๒๘)

บทกวีที่เด่น และเป็นตำนานของจิตร ภูมิศักดิ์ ที่ได้รับการกล่าวขวัญอยู่เสมอในยาม
ต่อสู้กับอำนาจเผด็จการหลากหลายรูปแบบ ก็คือ บทกวี "คำเตือน...จากเพื่อนเก่า" ซึ่งเขียน
วิพากษ์วิจารณ์นักหนังสือพิมพ์ที่ "ขายตัว" เพื่อแลกกับเงิน แทนที่จะยึดถือความจริงและสัจจะ
กลับใช้ปากกาป้ายสีข้อหาคอมมิวนิสต์ให้แก่ประชาชนผู้รักชาติ นอกจากนี้ยังปกป้องและพิทักษ์
อำนาจเผด็จการ  บทกวีเหล่านี้เคยถูกอ่านบ่อยครั้งบนเวทีการต่อสู้สนามหลวง มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์และอื่นๆ ช่วงหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม  เมื่อขบวนการเคลื่อนไหวต่อสู้ของ
ประชาชนถูกบิดเบือนให้ร้ายจากหน้าหนังสือพิมพ์ ดังเช่นบทนี้

"มวลชนย่อมเป็นคน มิใช่ควายที่โง่งม
ทองแท้หรืออาจม เขาย่อมรู้กระจ่างใจ
ใครชั่วสกุลถ่อย จะถูกถุยทั้งเมืองไทย
รัศมีที่เรืองไกร จะสิ้นแววที่เคยงาม
รักเสือต้องรักศักดิ์ เยี่ยงพยัคฆ์สง่างาม
อย่าเพียงพยักตาม ต่อแส้เงินที่กวัดไกว
รักเพื่อนจึงเตือนมั่ง ถ้าไม่ฟังก็ตามใจ
ป้ายสีสาดโคลนไป เยี่ยงนักสู้แบบเฮงซวย"
กวีการเมือง, (หน้า ๕๔)

ในกวีการเมือง มีบทวิจารณ์ศิลปวรรณกรรมของจิตรอยู่ด้วยถึง ๒๘ บทความ
แต่ละบทความแสดงภูมิรู้อันลึกซึ้งของจิตร ต่อศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น  และ
ยังแสดงความวิตกของเขาต่อการครอบงำของอิทธิพลตะวันตกและความรู้ด้านทฤษฎีของ
ศิลปวัฒนธรรมไทยขึ้นมาอย่างสูงยิ่ง เป็นการวางรากฐานการศึกษาภูมิปัญญาไทยไว้อย่างดี
ด้วย  น่าเสียดายที่ในสถานการณ์ที่จิตรเขียนบทความนี้ หรือภายหลังจากนั้นมาหลายสิบปี
กระแสความตื่นตัวด้านภูมิปัญญาไทยยังไม่เกิดขึ้น  บทความของจิตรจึงคล้ายกับมาก่อนกาล
ในวันนี้ซึ่งเรื่องของภูมิปัญญาไทย เป็นสิ่งอันตระหนักกันดีขึ้นมากแล้ว  การหวนกลับไปอ่าน
งานของเขาในเรื่องนี้เป็นสิ่งอันพึงทำอย่างยิ่ง

๑๐๐ ปีขุนพลภูพาน เตียง ศิริขันธ์ วีรบุรุษไร้อนุสาวรีย์


เตียง ศิริขันธ์"อุทิศชีวิตให้ชาติและประชาชน ร่วมกอบกู้เอกราช หนุนเพื่อนบ้านต่อต้านจักรวรรดิ แต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้และลืมวีรกรรมกล้าหาญของท่าน



ขบวนการเสรีไทย คือ อะไร? เตียง ศิริขันธ์ เป็นใคร สำคัญอย่างไร?
เสรีไทย คือ ขบวนการต่อต้านสงครามรุกราน และกอบกู้เอกราชในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒
เตียง ศิริขันธ์ เป็นหนึ่งในจำนวนนับแสนคนในขบวนการเสรีไทย และมีบทบาทสำคัญคนหนึ่ง และถูกยัดเยียดขอหาเป็น "กบฎแบ่งแยกดินแดน" และ "คอมมิวนิสต์"


ไฟล์:เตียง ศิริขันธ์ - เสรีไทย.jpg
นายเตียง ศิริขันธ์ (คนกลาง) ในเครื่องแบบเสรีไทย กับนายทหารสัมพันธมิตร

ไฟสงคราม ลามลุกโชนก่อนรุ่งสาง ๗ ธันวาคม ๒๔๘๔ อ่าวเพิร์ล เกาะฮาวาย ที่ตั้งฐานทัพสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคแปซิฟิก ถูกกองบินญี่ปุ่นทิ้งระเบิดแบบสายฟ้าแลบ ย่อยยับเป็นอัมพาต จากนั้นอเมริกาจึงกระโจนสู่สงครามอย่างเต็มตัว

ย่างเข้าวันใหม่ ๘ ธันวาคม จอมพลฮิซะอิจิ เทราอูจิ แม่ทัพใหญ่ภาคใต้ กองบัญชาการกองทัพญี่ปุ่นที่เมืองไซ่ง่อน สั่งกองทัพทุกหน่วยยกพลขึ้นบกประเทศไทยตามจุดต่าง ๆ เฉพาะสมุทรปราการ บริเวณปากแม่น้ำ ได้ต่อต้านญี่ปุ่นอย่างรัดกุม ทั้งสองฝ่ายต่างคุมเชิงกันอยู่
แต่ทางภาคใต้ ตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี เหล่าทหาร ตำรวจ ยุวชนทหาร และประชาชนได้จับอาวุธต่อต้านถึงขั้นตะลุมบอนประชิดตัว ล้มตาย บาดเจ็บจำนวนมาก
หลวงพิบูลสงคราม หรือจอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อประเมินสถานการณ์ ฝ่ายเสนาธิการทหารยืนยันไม่อาจต้านทานญี่ปุ่นได้ และยากจะได้รับความช่วยเหลือจากสัมพันธมิตร ควรจะยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไปตีอังกฤษที่พม่า นายกรัฐมนตรีสนับสนุนความคิดนี้ แต่อีกฝ่ายเห็นว่าการยอมจำนนง่าย ๆ ไม่ต่างกับยอมตกเป็นเมืองขึ้น ที่ประชุมยังไม่ลงมติใด ๆ วันถัดมา นายกรัฐมนตรีได้ตัดสินใจลงนามยอมญี่ปุ่นไปแล้ว วันรุ่งขึ้นรัฐสภาประชุมเพื่อลงมติ มีการอภิปรายอย่างเคร่งเครียดประมาณหนึ่งชั่วโมง เสียงข้างมากลงมติรับรองการตัดสินใจของรัฐบาล
เมื่อให้ประกาศออกอากาศอย่างเป็นทางการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายคนน้ำตาไหล ประชาชนต่างสลด หดหู่  เจ็บใจ ผิดหวังกับรัฐบาลที่เคยโฆษณาปลุกระดมให้เสียสละต่อต้านผู้รุกรานให้ถึงที่สุด เท่าที่จะทำได้ 
ก่อรูปขบวนการเสรีไทย
ค่ำวันนั้น ที่บ้านพูนศุข ถนนสีลม มีมิตรสหายหลายคนที่คิดเห็นต่างจากรัฐบาลมาปรึกษาหารือกัน เช่น หลวงบรรณกรโกวิท (เปาว์ จักกะพาก) หลวงเดชาติวงศ์วราวัฒน์ (ม.ล.กรี เดชาติวงศ์) นายสงวน ตุลารักษ์ นายกำจัด พลางกูร นายวิจิตร ลุลิตานนท์ นายเตียง ศิริขันธ์ นายถวิล อุดล นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายกำจัด พลางกูร เพื่อปรึกษากับหลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือนายปรีดี พนมยงค์
ความเห็นสอดคล้องกัน ในที่สุดฝ่ายสัมพันธมิตรจะมีชัยชนะอย่างแน่นอน รัฐบาลที่ถลำไปกับญี่ปุ่นจะไม่อาจรักษาเอกราช อธิปไตยไว้ได้ ทุกคนเห็นพ้องในเจตนารมณ์เสียสละเพื่อบ้านเมือง และให้จัดตั้งองค์การใต้ดินต่อต้านญี่ปุ่น 
วันที่ ๑๖ ธันวาคม ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรลงมติให้ นายปรีดี พนมยงค์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ไปดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แทนพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ที่ถึงแก่อสัญกรรม
รัฐบาลจอมพล ป. ลงนามสัญญาพันธไมตรีกับญี่ปุ่นวันที่ ๒๑ ธันวาคม และอีกสี่วันถัดมา ตอนเที่ยงวันนั้นได้ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร
ถัดจากนั้นประมาณ ๓ ชั่วโมงเศษ ที่บ้านท่าช้าง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทำเนียบผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ใกล้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง สมาชิกกลุ่มใต้ดินมาประเมินสถานการณ์และรับงานเคลื่อนไหวลับ
เดือนพฤษภาคม ๒๔๘๕ ในห้องชั้นสอง อาคารสถานทูตไทย เลขที่ ๑๐๒๔ วิสคอนซิน อเวนิว กรุงวอชิงตัน คนไทยนักศึกษามาชุมนุมร่วมสามสิบคน หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทย และเจ้าหน้าที่สถานทูตอยู่พร้อมหน้า ผลสรุปการหารือถกเถียงจากข้อเสนออันหนักแน่นของกลุ่มนักศึกษา ให้ตั้งขบวนการ  FREE THAI  MOVEMENT หรือ ขบวนการเสรีไทย และอาสาสมัครเข้าฝึกวิชาทหารหลักสูตรเร่งรัด สังกัดหน่วยยุทธศาสตร์บริการ (Office of Strategic Services : O.S.S.) หรือโอ เอส เอส
ต้นเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน คนไทยในอังกฤษก็ได้อาสาสมัครตรวจคัดเลือกเข้ากองทัพอังกฤษ ฝึกวิชาทหาร เพื่อรอส่งตัวไปปฏิบัติการลอบเข้าเมืองไทย สอดแนม และก่อวินาศกรรมกองทัพญี่ปุ่น
จากครู สู่ผู้แทนสกลนคร
ชายร่างสูงปราดเปรียว ผิวกร้านแดด สวมแว่นสายตา ในนามจัดตั้งว่า “พลูโต” อยู่ท่ามกลางพลเรือนที่กำลงฝึกหัดพื้นฐานการทหารคือการจัดแถว และฝึกจับอาวุธจำลองเป็นท่อนไม้ถากเหลาขึ้นรูปคล้ายปืน ระหว่างรอการช่วยเหลือ
เขาไม่ใช่ทหาร แต่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร ผ่านการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนครั้งแรกของประเทศ เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๔๘๐ ด้วยวัยย่าง ๒๘ ปีหลังจากตัดสินใจทิ้งอาชีพครูที่เรียนมาโดยตรง คำเรียกติดปากของคนทั่วไปคือ "ครูเตียง"
ครูเตียงเลือดเนื้อเชื้อไขคนลุ่มแม่น้ำโขง เกิดเมื่อ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๕๒ แถวคุ้มวัดศรีสะเกษ ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร เป็นลูกคนที่หกในจำนวนเก้าคน ของแม่อ้ม พ่อบุดดี ศิริขันธ์ (ขุนนิเทศพาณิช) ชาวบ้านเรียกนายฮ้อยบุดดี เพราะเคยมีอาชีพต้อนวัว ควาย มีเชื้อสายลาวญ้อมาจากฝั่งเมืองมหาชัยก่องแก้ว ห่างแม่น้ำโขงเมืองท่าแขกลึกเข้าไปประมาณ ๕๐ กิโลเมตร 
ครูเตียงเรียนชั้นประถม ๑ จนจบชั้นมัธยม ๓ จากโรงเรียนสกลราชวิทยาลัย เรียนต่อโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล ชั้นมัธยม ๔ ถึงมัธยม ๖ จากนั้นพ่อส่งไปศึกษาโรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศในพระนคร จบประกาศนียบัตรครูประถม (ป.ป.) เมื่อพ.ศ.๒๔๗๐ และศึกษาต่อคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนิสิตรุ่นแรกของคณะร่วมชั้นกับ ครูเปลื้อง ณ นคร จบวุฒิประกาศนียบัตรครูมัธยม (ป.ม.) พ.ศ.๒๔๗๓ จากนั้นบรรจุเป็นครูโรงเรียนหอวัง ประมาณ ๒ ปีย้ายมาเป็นผู้ช่วยครูใหญ่โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล
ครูเตียงได้เห็น สัมผัสพี่น้องชาวอีสาน ผู้ทุกข์ยาก ถูกข่มเหงกดขี่จากเจ้าหน้าที่รัฐ ซ้ำถูกนายเงินเจ้าที่ดินเอาเปรียบสารพัด จุดหักเหสำคัญต้องตัดสินใจมาเป็นผู้แทนราษฎร เพราะคับแค้นใจต่อความไม่เป็นธรรม ตกเป็นจำเลยคดีคอมมิวนิสต์ เมื่อ ๙ กรกฎาคม ๒๔๗๘ สาเหตุช่วงนั้นมีการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ และมีคนชักธงรูปค้อนเคียวขึ้นยอดเสาธง ครูเตียงกับเพื่อนครูอีกสามคนถูกหมายหัวถูกฟ้อง คือ ครูปั่น แก้วมาตย์ ครูสุทัศน์ สุวรรณรัตน์ และ ครูญวง เอี่ยมศิลา ถูกคุมขังอยู่ประมาณสองเดือนต่อสู้คดี กระทั่งศาลพิพากษายกฟ้อง มีเพียงครูญวงคนเดียวถูกตัดสินจำคุก ๑๐ ปี
แต่มีเกร็ดด้านหนึ่งบอกว่า นายร้อยตำรวจโทคนหนึ่งมาติดพันนางงามเมืองอุดรธานี แต่เธอไม่เล่นด้วย กลับมีใจให้ครูเตียงมากกว่า ด้วยความแค้นเคืองจึงหาทางใส่ความด้วยข้อหาคอมมิวนิสต์
ครูเตียงรู้สึกตื้นตันใจ ลูกศิษย์ลูกหาส่วนใหญ่เป็นครูประชาบาล และชาวบ้าน รวมถึง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และข้าราชการ มีเพื่อนส.ส.ร่วมอุดมการณ์กระจายกันหาแนวร่วมในพื้นที่จังหวัดของตัวเอง เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่สมรภูมิขับไล่ญี่ปุ่นผู้รุกราน
จากฐานที่มั่นแห่งแรกเขตหมู่บ้านโนนหอม ห่างตัวเมืองสกลนครประมาณ ๑๕ กิโลเมตรไปทางจังหวัดนครพนม ในปี ๒๔๘๕ ค่ายเสรีไทยได้ตั้งกระจายไปในเขตป่าของเทือกเขาภูพาน เช่น ค่ายด่านนกยูง บ้านเต่างอย ค่ายดงพระเจ้า ค่ายบ้านหนองหลวง ในเขตอำเภอสว่างแดนดิน ค่ายบ้านตาดภูวงศ์ อำเภอวาริชภูมิ ค่ายบ้านอากาศ อำเภออากาศอำนวย ค่ายบ้านภูสระคาม อำเภอวานรนิวาส ค่ายบ้านหนองผือ อำเภอพรรณนานิคม
ที่ค่ายดงพระเจ้า ในวาระสำคัญของการจัดตั้งกองกำลังพลเรือน "พลูโต" ได้กล่าวต้อนรับมิตรสหายเข้าร่วมขบวนการต่อต้านญี่ปุ่น
"ยินดีต้อนรับพวกเธอทุกคนเข้าสู่ขบวนการ เราทุกคนคงทราบกันดีแล้วว่าขณะนี้โลกของเรากำลังทำสงครามกันเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายอักษะกับฝ่ายพันธมิตร ฝ่ายอักษะนั้นมีเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ฝ่ายสัมพันธมิตร มีอังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา รัสเซีย และจีน ขณะนี้ฝ่ายอักษะกำลังจะแพ้สงคราม อิตาลียอมแพ้ฝ่ายสัมพันธมิตรไปเรียบร้อยแล้ว...ไทยเราเป็นประเทศหนึ่งที่ร่วมกับญี่ปุ่นประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ไทยเราก็ไม่พ้นถูกยึดครอง ท่านรูธ หัวหน้าใหญ่ของขบวนการของเราท่านเล็งเห็นการณ์ไกล จึงได้จัดตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้นเพื่อร่วมมือกับอังกฤษและอเมริกา เพื่อขับไล่ญี่ปุ่นเพื่อไม่ให้ญี่ปุ่นใช้เมืองไทยเป็นฐานทัพสู้กับฝ่ายพันธมิตร ฉันได้รับบัญชาจากท่านรูธ หัวหน้าของขบวนการเสรีไทยที่รักชาติ ให้มารวบรวมพลพรรคเสรีไทยที่รักชาติ ทำการฝึกอาวุธเตรียมไว้สำหรับการขับไล่ญี่ปุ่นไปให้พ้นประเทศไทย...บัดนี้พวกเธอทั้งหลายคงรู้แล้วสิว่า เรามาที่นี่เพื่ออะไร ขบวนการของเราต้องการผู้รักชาติมาร่วมกันทำงาน เพื่อกอบกู้ชาติบ้านเมืองให้พ้นภัย…"
ที่พรรณนานิคมนี่เอง พลูโตนำพลพรรคเสรีไทยภูพานไปกราบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอริยะสงฆ์แห่งลุ่มน้ำโขง นำคณะศิษย์หลายสิบรูปมาจำพรรษาที่ป่าบ้านหนองผือ เป็นเสมือนศูนย์รวมสร้างขวัญกำลังใจแก่ญาติโยมเป็นอย่างมาก
ด้วยแกนนำคนสำคัญของภาคอีสาน ทั้งครูเตียง ศิริขันธ์ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายจำลอง ดาวเรือง นายถวิล อุดล นายแพทย์อ้วน นาครทรรพ เป็นต้น รวมไปถึงแกนนำคนสำคัญอย่าง นายสวัสดิ์ และนายสวาสดิ์ ตราชู นายสนิท ประสิทธิ์พันธุ์ นายถวิล สุนทรศาลทูล นายครอง จันดาวงศ์ และเมื่อทหารฝ่ายสัมพันธมิตร มาเชื่อมต่อติด เช่น พันตรีบาทหลวงฮอลิเดย์ ชาวอเมริกา พันตรีเดวิด สไมเลย์ ชาวอังกฤษ
ทั่วเขตงานป่าเขาในภาคอีสาน ถูกจัดตั้งกองกำลังจรยุทธ์ และตั้งค่ายเสรีไทยเพิ่มอีกในหลายจังหวัด ได้แก่ นครพนม มหาสารคาม หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี มีกองบัญชาการสำคัญอยู่ ๓ แห่ง คือสกลนคร  เลย และขอนแก่น โดยมีนายทหารฝรั่งมาประจำการด้วย อีกทั้งยังได้สร้างสนามบินลับในเขตบ้านตาดภูวงศ์ อำเภอวาริชภูมิ สกลนคร และบ้านนาคู กาฬสินธุ์ เพื่อรับอาวุธยุทธปัจจัยทั้งปืน และเวชภัณฑ์
จนกระทั่ง เสรีไทยสายอเมริกา เสรีไทยสายอังกฤษ รวมถึงเสรีไทยสายจีนด้วย รวมตัวเป็นขบวนการในชื่อเดียวกันได้ตั้งแต่ปลายปี ๒๔๘๗ และได้ตั้งกองบัญชาการเสรีไทยขึ้นในเดือนมีนาคม ๒๔๘๘ แบ่งหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน ระหว่างนั้นฝ่ายอักษะเริ่มพ่ายแพ้ในยุโรป เยอรมนีพ่ายแพ้ต่อสหภาพโซเวียต พฤษภาคม ๒๔๘๗ ฝ่ายสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกฝั่งนอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส ปลดปล่อยกรุงปารีสในเดือนสิงหาคม ๒๔๘๗
ถึงขั้นนี้ นักรบเสรีไทยถูกฝึกและพร้อมจะรบทันทีเมื่อประกาศวันดีเดย์ หรือวันยกพลของฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามา แต่สงครามยุติลงเสียก่อนเพราะญี่ปุ่นได้ยอมแพ้ เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๔๘๘ เพราะถูกทิ้งระเบิดปรมาณูเมืองฮิโรชิมา และเมืองนางาซากิ เมื่อวันที่ ๖ และ ๙ สิงหาคม
รูธในฐานะผู้สำเร็จราชทานแทนพระองค์ ได้ประกาศสันติภาพให้ถือว่าการประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๔๘๕ ผิดเจตจำนงของประชาชน และขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ถือเป็นโมฆะไม่ผูกพันประชาชนชาวไทย
พลพรรคเสรีไทยร่วมกับทหารสัมพันธมิตรดำเนินการปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นแล้ว จากนั้นก็เข้ามาร่วมพิธีสวนสนามในกรุงเทพมหานคร ต่อหน้าพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพล.ร.อ.ลอร์ด หลุยส์ เมานท์แบทเตน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองทัพสัมพันธมิตรภาคพื้นเอเซียอาคเนย์ ประกาศสถานะไม่เป็นผู้แพ้สงคราม ไม่ถูกแบ่งเป็นไทยเหนือ-ไทยใต้ อย่างเกาหลี และเวียดนาม
ครูเตียง กับขบวนการสันติบาตเอเซียอาคเนย์
ครูเตียง ศิริขันธ์ นายถวิล อุดล ส.ส.ร้อยเอ็ด นายจำลอง ดาวเรือง ส.ส.มหาสารคาม นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ส.ส.อุบลราชธานี คือเพื่อนร่วมอุดมการณ์ตั้งพรรคสหชีพ มีนโยบายเพื่อเกษตรกร แก้ไขความทุกข์ยาก  แก้อคติหยามเหยียดกันในสังคมไทย มีแนวทางสนับสนุน พรรคแนวรัฐธรรมนูญ มีนายปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในผู้นำเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
พรรคสหชีพอภิปรายโจมตีนโยบายการบริหารประเทศของผู้นำทหารที่มักจัดสรรงบประมาณให้กองทัพมากเกินไป สร้างความขุ่นเคืองให้กลุ่มทหารตลอดมา เมื่อสงครามยุติ ส.ส.อีสานกลุ่มนี้ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ครูเตียงนั้นเป็นรัฐมนตรี ๓ สมัย ๓ รัฐบาล คือ รัฐบาลนายทวี บุณยเกตุ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และรัฐบาลพล.ร.อ.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
นอกจากนี้ ยังมีภารกิจหนุนช่วยพี่น้องเพื่อนบ้านต่อสู้เรียกร้องเอกราชจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสที่ไม่ยอมปล่อยมือ ก่อนนั้น ชาวญวนรักชาติได้ก่อตั้ง สันนิบาตเพื่อเอกราชของชาวเวียดนาม หรือ “เวียดมินห์” ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๔ ช่วงนั้นให้เวียดมินห์มาฝึกอาวุธที่ดอนสววรค์ กลางหนองหาร ด้วย
กับขบวนการลาวอิสระ ภายใต้การนำ ของเจ้าสุภานุวงศ์ ได้สนับสนุนจัดตั้งและให้มาฝึกอาวุธเช่นกัน นอกจากนี้เสรีไทยอีสานบางส่วนยังข้ามน้ำโขงไปช่วยลาวและเวียดนามอีกด้วย ดังนั้น อาวุธเสรีไทยจึงได้ถูกลำเลียงไปสนับสนุนลาว และเวียดนาม
กันยายน ๒๔๙๐ ครูเตียง กับกลุ่มแกนนำภาคอีสานได้ก่อตั้งขบวนการสันติบาตเอเชียอาคเนย์ เพื่อต่อต้านการหวนกลับมาของฝรั่งเศส มีครูเตียง เป็นประธาน เจ้าสุภานุวงศ์ เป็นเลขาธิการ นายถวิล อุดล เป็นประชาสัมพันธ์ และนายเลอ ฮาย เป็นเหรัญญิก  
บาปกรรมจาก รัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐
ภารกิจที่ยังไม่จบของครูเตียงกับมิตรสหายหนุนช่วยนายปรีดี พนมยงค์ นี่เอง ทำฝ่ายอำนาจนิยมฝักใฝ่มหาอำนาจได้เล็งจะเอาคืน กระทั่งเกิดวิปโยคพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ถูกลอบปลงพระชนม์ ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
กระทั่งเกิดรัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ นำยึดอำนาจล้มรัฐบาล พล.ร.อ.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ไปเชิญพรรคประชาธิปัตย์มาตั้งรัฐบาล นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีขัดตาทัพ ก่อนจะจี้ลง ยกจอมพล ป. กลับมาใหม่ 
นายปรีดีหนีไปตั้งหลักที่สิงคโปร์(ก่อนจะลี้ภัยไปในจีนและฝรั่งเศส) ส่วนครูเตียงหลบขึ้นภูพานฐานที่มั่นเดิม และเตรียมกำลังติดอาวุธจะลงมายึดอำนาจ แต่นายปรีดีออกวิทยุกระจายเสียงขอร้องไว้ 
รัฐบาลตั้งข้อหาครูเตียง"กบฏแบ่งแยกดินแดนอีสาน" และมีอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่สามารถจับได้ เพราะมวลชนเป็นเกราะกำบัง หนังสือพิมพ์ยุคนั้นตั้งสมญานามให้ครูเตียงว่า "ขุนพลภูพาน"
เผด็จการต้องใช้วิธีข่มขู่ ทำร้ายชาวบ้านสารพัด เพื่อให้ข่าวไปกดดันครูเตียง ว่าเป็นต้นเหตุให้ชาวบ้านเดือดร้อน ครูครอง จันดาวงศ์ และมิตรสหายของครูเตียงอีก ๑๕ คนถูกจับ ในที่สุดขุนพลภูพานจึงยอมมอบตัวในเดือนมีนาคม ๒๔๙๑ ทั้งหมดถูกดำเนินคดี แต่ท้ายที่สุดศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง
แต่การบ่อนทำลายยังดำเนินต่อไป แม้ฝ่ายสนับสนุนนายปรีดีพยายามทำรัฐประหาร ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒ แต่พ่ายแพ้ถูกเรียกเป็น”กบฏวังหลวง” กระทั่งในวันที่ ๔ มีนาคม ปีเดียวกัน อดีตสี่รัฐมนตรีคนอีสาน คือ  ทองเปลว ชลภูมิ ถวิล อุดล จำลอง ดาวเรือง ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ก็ถูกอัศวินแหวนเพชร ของพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ สังหารโหด บนถนนพหลโยธิน ทุ่งบางเขน
ครั้งนี้ ครูเตียงรอดมาได้ บ้างว่ามีการเจรจาให้ครูเตียงวางอุดมการณ์ต่อสู้ เพื่อจะไม่พบจุดจบเหมือนเพื่อนๆ จากข้อมูลระบุว่า น้าสาวของ นิวาสน์ พิชิตรณการ (ภรรยาของครูเตียง) บุตรีของ ร้อยเอกนาถ และ นางเวศ พิชิตรณการ เป็นอนุภรรยาของบิดา พล.ต.อ.เผ่า จึงมีสถานะเป็นดองกัน 
กระทั่ง รัฐบาลออกกฎหมายคอมมิวนิสต์ พ.ศ.๒๔๙๕  เป็นเครื่องมือกวาดล้างจับกุมฝ่ายค้านจำนวนมากข้อหากบฏในเดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๕ เรียกต่อมาว่า "กบฏสันติภาพ"
เวลาประมาณ ๑๔.๐๐ น. วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๕ พล.ต.อ.เผ่า อธิบดีกรมตำรวจ ให้ตำรวจเชิญตัวครูเตียง ที่ร่วมประชุมคณะกรรมการนิติบัญญัตินัดพิเศษที่บ้านมนังคศิลา ไปพบ พร้อมกับ นายเล็ก บุนนาค นายผ่อง เขียววิจิตร นายสง่า ประจักษ์วงศ์ และนายชาญ บุนนาค และหายตัวไปแต่บัดนั้น 
ต่อมา ในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้สั่งรื้อฟื้นคดีนี้ ปรากฏหลักฐานว่าครูเตียง ถูกฆ่ารัดคอหลังถูกควบคุมตัวไปสองวัน แล้วนำศพไปเผาทิ้งเชิงเขาโล้น ต.แก่งเสี้ยน อ.เมือง กาญจนบุรี ขณะมีอายุเพียง ๔๓ ปี

ไฟล์:เตียง-นิวาศน์ ศิริขันธ์.jpg
นายเตียง ศิริขันธ์ กับนางนิวาศน์ ภริยา


เตียง ศิริขันธ์ (5 ธันวาคม พ.ศ. 2452 - 13 ธันวาคม พ.ศ. 2495) เป็นนักการเมืองฉายา "ขุนพลภูพาน" หนึ่งใน "สี่เสืออีสาน" ซึ่งประกอบด้วยนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายเตียง ศิริขันธ์ นายถวิล อุดล และนายจำลอง ดาวเรือง นายเตียงดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.สกลนคร 5 สมัย ตั้งแต่อายุ 28 ปี รัฐมนตรี 3 สมัย และเป็นหัวหน้าใหญ่เสรีไทยภาคอีสานและสกลนครโดยมีศูนย์บัญชาการอยู่บนเทือกเขาภูพาน แนวคิดทางการเมืองที่สำคัญ คือ "ข้าพเจ้าต้องการให้ทุก ๆ คนบนพื้นอันเป็นสยามประเทศนี้ เป็นราษฎรเสมอหน้ากันหมด ปราศจากความเหลื่อมล้ำต่ำสูง"

นายเตียง ศิริขันธ์ เกิดที่บ้านในตำบลตลาด อำเภอเมืองสกลนคร เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวน 10 คน ของขุนนิเทศพาณิชย์ (บุดดี) กับนางอ้อน ศิริขันธ์ จบโรงเรียนเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศวิหาร สมรสกับนางนิวาศน์ ศิริขันธ์ (นามเดิม นิวาศน์ พิชิตรณการ เป็นบุตรสาวของ ร.อ.นาถ และนางเวศ พิชิตรณการ) มีบุตร 1 คน ชื่อ นายวิฑูรย์ ศิริขันธ์

....................................................

เรื่องราวของนักสู้เพื่อประชาธิปไตยและเสรีภาพที่คนเชิดชู เมื่อไร้ร่างกายและลมหายใจ ครั้งตอนอยู่ถูกไล่ล่าฆ่าจนตาย รู้ทั้งรู้กันทั่วไปว่าเพราะอะไร แต่สุดท้ายคนไทยก็ยอมรับกับระบอบและค่านิยมแบบนี้มายาวนาน หรือต้องการแสดงออกเพียงแค่การมาเคารพศพคนตายแล้วกล่าวคำชื่นชม  สังคมไทยต้องการแค่นี้ใช่ไหมกับคำว่า ประชาธิปไตย และ เสรีภาพ

บันทึกเรื่องราวสู่เว็บ "ชาวดินออนเน็ต"พร้อมคำถามในใจ
(ยรรยง ลูกชาวดิน)
 25/06/2553

ข้อมูลเพิ่มเติม http://midnightuniv.org/midnight2545/document95171.html

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โปรดระวัง...!! การกระชับพื้นที่คืนของประชาชน

คอลัมน์ ชาวดิน ออนเน็ต
วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน 2553
นับวันคำว่าสองมาตรฐาน ของรัฐบาลของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ยิ่งออกอาการชัดเจนและหนักหน้าขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะ คดีความต่างๆเกี่ยวกับคนเสื้อแดง โดยแบ่งงานกับ สุเทพ เทือกสุบรรณ ทำกันอย่างที่เรียกว่า อันโกหกได้ก็โกหก อันไหนตอบไม่ได้ ก็อ้างเรื่องความมั่นคง อ้างข้อกฏหมาย ดังภาพที่ผมนำมาลงประกอบ เพราะไปเจอจาก hi5 คงบอกอะไรได้หลายอย่างสำหรับท่านผู้อ่านทุกท่าน
สารพัดวิธี ที่ รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กำลังทำ ที่เห็นได้ชัด การคือการ สร้างแผนปรองดอง ที่แฝงไว้ด้วยเรื่องแหกตา เพราะ นายกฯ ออกมา โปรโมท งานที่จะทำ ด้วยการคัดสรร คนที่เป็นพวกตัวเองให้มานั่งหารือรอการสรุปไปวันๆ เพื่อ ยั่ว อารมณ์ ฝ่ายตรงข้ามอย่างคนเสื้อแดง ด้วยวิธีถนัด คือ " มาร์คโพเดี้ยม หรือ หล่อหลักลอย " อีกคน คือ สุเทพ รองนายกฯ ที่มีฉายาว่า " มาเฟียฝ่ายความมั่นคง " ก็เร่งหาทางกำจัดคู่แข่งทางความคิดทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ด้วยกระบวนการมางกฏหมาย เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้ ภายใต้คำว่า" ปรองดอง"
1.คงไว้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 "เพื่อจัดการคนเสื้อแดง"
2.ฟื้นคดีฆ่าตัดตอนคดียาบ้าสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ
3.เรื่องของบุคคลที่ห้ามทำธุรกรรมทางการเงิน 80กว่าราย ที่เข้าข่ายต้องสงสัยในการสนับสนุนคนเสื้อแดงว่าสนับสนุนการก่อการร้าย
4.อัยการเลื่อนสั่งคดี แกนนำพธม.บุกทำเนียบ
5.ปิดกั้นการเสนอข่าวสารของฝ่ายตรงข้ามทุกทาง
เอาแค่ 5 ข้อนี้ ก็ถือว่าหนักหนามากสำหรับ แนวทาง ปรองดอง ที่แฝงไว้ ด้วยความประสงค์ร้าย เพราะ นั่นหมายความว่า ความอดทนของประชาชนที่คิดต่างและยืนหยัดอยู่ฝ่ายเสื้อแดง กำลังจะทะลักออกมา แล้ว ปฎิบัติการ กระชับพื้นที่คืนของปฝ่ายประชาชน จะเริ่มเกิดขึ้นทั่วทุกย่อมหญ้า จาก ตจว.บีบกระชับเข้ามาสู่ กทม.อีกครั้ง แต่คราวนี้ จะนิ่งและสุขุมนุ่มนวล แต่อันตรายยิ่งนัก ต่อการบริหารบ้านเมืองของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แบบมักง่ายเช่นนี้ ไม่ต้องถึงขั้นรบราฆ่าฟัน แต่ถ้า ถูกคุกคาม รังแก ก็อาจมีป้องกันตัวบ้าง
การปิดวงล้อม กระชับพื้นที่คืนของประชาชน นั้น สามารถทำได้ง่ายมาก เพียงแค่ ร่วมใจ
ไม่ขายสินค้าให้คนของรัฐ ปชป.และพวก
ไม่ร่วมกิจกรรมทุกด้านของรัฐ ปชป.และพวก
ไม่คบค้ากับนักธุระกิจ ข้าราชการ ที่แสดงตนว่าเป็นสมุนรับใช้นักการเมืองของ รัฐ ปชป.และพวก
ไม่เชิญราชการ นักการเมือง เหล่านี้ไปร่วมงานของชาวบ้าน เช่นงานบวช งานแต่ง งานศพ เจอหน้าก็ไม่พูดคุยหรือตอบคำถาม
และเชิญแต่เฉพาะพวกพ้องคนเสื้อแดงไปร่วมงาน
ในต่างจังหวัดนั้น สิ่งที่เป็นหัวใจหลักคือชาวบ้านที่เป็นเกษตกร และ ปฏิเสธไม่ได้ว่า จำนวนมากเป็นคนเสื้อแดง เป็นญาติพี่น้องของผู้บาดเจ็บ ล้มตาย สูญหาย จากการที่ออกมาร่วมชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย ให้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คืนอำนาจให้ประชาชน ด้วยการยุบสภา ซึ่งประชาชนเหล่านั้น ได้รับความเจ็บปวดจากเหตุการณื เช่นนี้ มา 2 ปีซ้อน ทั้ง เมษาเลือดปี 52 และ เมษา-พฤษภา ปี53 กับการฆ่าอย่างหฤโหด ไร้ความเมตตา
แต่นั่นไม่ใช่วิธีที่จะหยุดความคิด ในแนวทางการต่อสู้ของ มวลมหาประชาชนคนเสื้อแดง ที่มีอยู่มากมายนับล้านคนได้เลย เมื่อใช้วิธีที่พูดกันขอร้องการ แต่สิ่งที่ได้รับ คือความบาดเจ็บ ล้มตาย และ สูญหาย สูญเสียอิสระภาพ แถมด้วยการ ยัดข้อกล่าวหาให้อย่างรุนแรง ว่า ก่อการร้าย ปิดกั้นสื่อประโคมข่าวฝ่ายเดียวว่าตัวเองชอบธรรม แม้แต่การตรวจสอบจาก ต่างชาติที่ผ่านโดย ยู เอ็น จะเข้ามาตรวจสอบข้อท็จจริง ก็ถูกกันท่าไว้ทุกทิศทาง แต่กลับพยายามแต่งตั้งบุคคลที่ร่วมขบวนการวางแผนทำลายฝ่ายตรงข้ามในการขึ้นสู่อำนาจ ที่เป็นคนของตนพวกเดียวกับตน ขึ้นมาเป็นคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งเหมือนการประวิงเวลา ภายใต้ แผนปรองดอง ที่ ประกาศบอกชาวโลกและประชาชนในประเทศที่ไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริง ทั้งหลายที่รัฐบาลนี้ทำ คือเกม แหกตา
หากประชาชนเริ่มปฏิบัติการปิดวงล้อม กระชับพื้นที่คืน ด้วย การตอบโต้ ดังที่ ผมว่ามา แม้อาจจะมีหลายคนมองว่าเป็นไปได้ยาก แต่ ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หาก รัฐบาลนี้ ยังคงใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรมแบบนี้ต่อไป ภาพของประชาชนที่แสดงออกในวันที่ไปให้กำลังแกนนำ นปช.ที่ศาลอาญา ที่ผ่านมาแล้วศาลตัดสินไม่ให้ประกันตัว สิ่งที่เกิดขึ้น นั้น เป็นภาพที่ คนในรัฐบาล ปชป.และพวกที่หนุนอยู่เบื้องหลัง หวาดผวา ไม่กล้า ยกเลิก พรก. จึงหาวิธีการอ้างต่างๆนาๆ ที่เหลือคือการสร้างเหตุความรุนแรงด้วยคนของตัวเอง เพื่อ คง พรก.นี้ไว้
หากการปิดวงล้อม กระชับพื้นที่คืนของประชาชน ได้เริ่มขึ้นบ้างในขณะนี้ สังคมนี้ที่มีผู้คนมากมาย เมินเรื่องคนเจ็บ คนตาย คนสูญหาย แต่ออกมาพร่ำถึงแต่แหล่งช๊อปปิ้ง แหล่งเดินตากแอร์ นัดเจอ ที่ถูกเผาทำลายไป โดยที่ยังไม่มีการตรวจสอบอย่างระเอียดว่ามีบุคคล กลุ่มใดบ้างเข้าไปเกี่ยวข้องก่อเหตุ แน่นอน มันมีมากกว่า มือที่ 1 2 3 4 5 แน่นอน เพราะรวดเร็วทันใจ หลังเกิดเหตุ ก็มีประกาศกฏอัยการศึก คนที่เข้า-ออก ตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุได้ คือคนของรัฐ และยามค่ำคืน ตามเวลาที่กำหนด คนของรัฐเท่านั้นที่ เคลื่อนไหวได้
และตอนนี้ทันใจ โดยไม่มีข่าว เรียกร้อง ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงใดจากบริษัทประกันเลย ทุกอย่างโยนไปให้ คนเสื้อแดง ชายชุดดำ และ ผู้ก่อการร้าย
ณ วันนี้ การเร่งก่อสร้างห้างที่โดนเผา เป็นไปอย่างรวดเร็ว พร้อมกับการยัดข้อหาและดำเนินคดีกับคนเสื้อแดงทั้งที่น่าจะไปตรวจสอบหาข้อมูลพยานหลักฐานต่างๆโดยฝ่ายกฏหมายของฝ่ายผู้ถูกล่าวหา ทั้งเรื่อง ผู้เสียชีวิต คนสูญหาย การ ขโมยทรัพย์สิน ทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็นฝีมือของใคร ตลอดจนการเข้าไปคุมพื้นที่ในตึกใกล้เคียงของ ทหาร และการทุบกระจกตรวจค้นรถ ของ บริษัทและพนักงานที่จอดไว้ในลานจอดตามชั้นต่างๆ และมีทรัพย์สินหายไป ในขณะที่คนเสื้อแดงกำลังหนีตายเอาตัวรอด ดังที่เห็นคือส่วนหนึ่งที่หลบเข้าไปในวัด แม้แต่บัตรสมาชิกหรือสัญลักษณ์ที่บอกว่าเป็นคนเสื้อแดง ยังต้องทำลายทิ้ง บางส่วนฝังดินไว้ เพื่อเดินออกมาในตอนเช้าของอีกวันในสภาพประชาชนทั่วไป
สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้ คงเป็นเหตุผลเพียงพอ ที่จะ ปิดล้อม กระชับพื้นที่คืนของประชาชน ดยเริ่มจากตาม ตจว.ขยับเข้ามาๆ ทีละนิด แต่ด้วยจำนวนคนเสื้อแดงที่มากมาย คงใช้เวลาไม่นาน ที่จะปิดล้อม กระชับพื้นคืนบ้าง และเข้าถึง กทม.ในไม่ช้า
ที่กล่าวมาผมแค่คิดและมองว่าน่าจะมีความเป็นไปได้สูง
ยรรยง ลูกชาวดิน
18/มิ.ย./52

รำลึกนักสู้นิรนาม 17 พ.ค.สามเหลี่ยมดินแดง

ที่มา จากไทยฟรีนิวส์



เมื่อมีคนประกาศขออาสาสมัครการ์ดอาสา ทันทีที่ประกาศ ใครต่อใครรอบๆตัวฉันก็ก้าวออกไป เราไม่มีอุปกรณ์อะไรเลย มีเศษผ้าสีฟ้าเล็กๆ ให้แจกจ่ายกันให้รัดไว้ที่แขนบ้าง ข้อมือบ้าง ทั้งผู้หญิง ทั้งผู้ชาย พวกเขาเหล่านั้นกำลังก้าวออกไป

ใครลงชื่อแล้วก็นั่งลงบนพื้นถนน บางคนโทรศัพท์หาปลายสาย บางคนหยิบข้าวกล่องมากิน พวกเขากล้ายิ่งกว่านักรบใดๆที่ฉันเคยเห็นในทีวี

ท่าม กลางเสียงปัง ตู้ม ของสามเหลี่ยมดินแดง ด้านในนั้น ฉันก็ไม่รู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง แต่หลายวันที่ผ่านมา มีแต่การหามคนเจ็บ และ คนตาย ออกมา

จะร้องไห้ พวกเขาไม่กลัว พวกเขายังคงอาสากันไป นักสู้ภาคประชาชน มือเปล่า กลับกล้าหาญจนฉันอยากจะร้องไห้

หนึ่งเดือนที่แล้ว 17 พค 53 ท่ามกลางเสียงปังๆ ของอีกฟากฝั่งนึงสามเหลี่ยมดินแดง ฉันกับเพื่อนอยู่ตรงอนุสาวรีย์ชัยมาเป็นเวลา 3 วันแล้ว วันนี้มีใครซักคนเอาสติ๊กเกอร์ "stop killing people" และ "หยุดฆ่าประชาชน" มาแจก มีภาพเหตุการณ์ที่ใครอีกหลายคนเอามาแปะตามเสา แล้วในตอนค่ำก็เป็นเวลาที่เศร้าที่สุด เมื่อมีการรับสมัครการ์ดอาสา ...หลายๆคนก้าวออกไปลงชื่อ บางคนหยิบโทรศัพท์มือถือโทรหาทางบ้าน ฉันไม่รู้ว่าพวกเขาจะเข้าไปตรงที่ทหารซุ่มยิงอยู่หรือเปล่า ฉันไม่กล้าแม้แต่จะถ่ายรูปพวกเขาตรงๆ ฉันกลัวว่าจะจำหน้าพวกเขาได้ มันเหมือนอยู่ในสนามรบที่เราสังหรณ์ใจว่าอาจจะแพ้ แต่การ์ดอาสาหลายๆคนก็ยังก้าวออกไปลงชื่อแล้วนั่งลงกินข้าว เตรียมตัวเข้าไปสู่สมรภูมิ

"ใคร ยังไม่ได้กินข้าว มากินข้าวให้อิ่ม ๆ นะครับ ๆ" ยังจำประโยคนั้นได้

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

นักวิชาการลั่นอย่ามอง"เสื้อแดง" เป็น"วัว-ควาย" ชี้ชัดม็อบเกิดจาก



ชัยวัฒน์ สถาอานันท์

ข้อ ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดเสวนาหัวข้อ
"มิติใหม่ในการชุมนุมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย : กรณีการชุมนุมของกลุ่มเสื้อสีต่างๆ "
ร่วม เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน เนื่องใจโอกาสสถาปนาคณะครบรอบปีที่ 61 โดยมีผู้ร่วมเสวนาได้แก่
ศศาสตร์ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และ ผศ.ดร.ประภาศ ปิ่นตบแต่ง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ
ศาสตร์ ผศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศาสตร์ ผศ.ดร.อภิชาต เป็นผู้ร่วมเสวนาคนแรกที่แสดงความคิดเห็นในเชิงเศรษฐศาสตร์
เหลือง เกี่ยวกับปรากฎการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงและเสื้อเหลือง โดยหยิบยกผลการสำรวจจากหมูบ้านต่างๆ ในจังหวัดนครปฐม อุบลราชธานี และเชียงใหม่
ซึ่งแม้ว่าจะเป็นตัวอย่างจำนวนไม่มาก แต่พอที่จะทำอ้างอิงเป็นตัวแทนของหมู่บ้านได้ภายหลังวันที่ 10 เมษายน ซึ่งแม้ว่าจะเป็นตัวอย่างจำนวนไม่มากแต่พอที่จะทำอ้างอิงเป็นตัวแทนของ 1 หมู่บ้านได้ ภายหลังวันที่ 10 เมษายน โดยระบุว่า คำถามแรกที่อยากรู้คือใครคือเป็นเสื้อสีอะไร ในหมู่บ้านจังหวัดนครปฐมพบว่า เสื้อแดงส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้าง ขณะเสื้อเหลืองส่วนมากทำอาชีพค้าขายและรับราชการ ส่วนระดับการศึกษาพบว่า เสื้อเหลืองจะมีการศึกษาสูงกว่าเสื้อแดง ด้านรายได้พบว่า ค่าเฉลี่ยต่อเดือน ในอาชีพหลักเสื้อเหลืองเยอะกว่าเสื้อแดง แต่เสื้อแดงมีรายได้มากกว่าคนไม่มีเสื้อ ประเด็นต่อไปที่อยากรู้คือความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจนั้น มีผลอย่างไรต่อคนเสื้อแดงและคนเสื้อเหลืองบ้าง จากการเก็บข้อมูลพบว่า ในการประเมินแบบอัตวิสัยพบว่า ทั้งเหลืองและแดงมองว่าตัวเองเป็นคนชั้นกลางทั้งนั้น แต่คนเสื้อเหลืองมองตัวเองว่าเป็นคนจน มากกว่าที่คนเสื้อแดงมองตนเอง


"เมื่อถามว่าแต่ละคนคิดยังไงต่อการเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจนั้น เสื้อเหลืองมองว่าปัญหาการดังกล่าที่คนเสื้อแดงมองในปัญหาเดียวกัน เพราะฉะนั้นเราจึงพอสรุปได้ว่า ความคับข้องใจของคนเสื้อแดงไม่ได้มากจาก ปัญหาการเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ เพราะคนเสื้อแดงยังพอรับได้ ผิดกับเสื้อเหลืองที่มองปัญหาดังกล่าวใหญ่กว่า
จึงสรุปว่าความยากจนในเชิงภาววิสัยไม่ใช่ปัญหาของคนเสื้อแดง และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในทางอัตวิสัยเป็นปัญหากับเสื้อเหลืองมากกว่าเสื้อแดง อาจพูดได้ว่าเสื้อเหลืองไม่พอเพียงมากกว่าเสื้อแดงด้วยซ้ำไป" ผศ.ดร.อภิชาต กล่าวและว่า ดังนั้น ถ้าเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาของคนเสื้อแดง ก็ต้องตั้งคำถามต่อไปว่า อะไรคือปัญหาที่แท้จริงของคนเสื้อแดง


ผศ.ดร.อภิชาต กล่าวต่อว่า จากการลงไปศึกษากลุ่มคนเสื้อแดงในจังหวัดอุบลราชธานี พบว่าปัญหาใหญ่ที่พวกเขาประสบคือเรื่องความน้อยเนื้อต่ำใจ รู้สึกว่าโดนดูถูกเหยียดหยาม จึงยิ่งต้องรู้สึกอยากต่อสู้ร่วมกับเสื้อแดงเพื่อทวงสิทธิของคืน หรือทำให้เกิดการยุบสภา ความคับข้องที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เรื่องเศรษฐกิจ ทั้งในด้านภาววิสัยและอัตวิสัย
แต่ในแง่ความคับข้องใจนั้น กลับพบว่ามีความแตกต่างในแง่พื้นที่ เช่น ชาวนาในนครปฐมจะไม่รู้สึกคับข้องใจเท่ากับ คนเสื้อแดงในอุบลราชธานี จึงขอเรียกว่า "ปมอีสาน" ขณะที่เสื้อแดงเชียงใหม่นั้น ไม่มีความแน่ใจในอนาคตเช่นกัน แต่ไม่รู้สึกเหมือนเสื้อแดงอุบลฯ และในเรื่องความเป็นเมือง ก็ไม่มีความรู้สึกว่าตกเป็นอณานิคมของชาวกรุงอีกด้วย

ผศ.ดร.อภิชาต กล่าวถึงนโยบายประชานิยมว่า ในทุกโครงการประชานิยม เสื้อแดงจะได้รับบริการโดยตรงมากกว่า
คนแดงเช่นเสื้อ คนเสื้อแดง เช่น
โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เราพบว่าคนเสื้อแดงถึง 81% มารับบริการนี้
ขณะที่คนเสื้อเหลืองมีเพียง 54% เท่านั้น ดังนั้น
โครงการประชานิยมจึงโดนใจเสื้อแดงจริง อาจเป็นเพราะคนเสื้อแดงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพที่อยู่นอกระบบสวัสดิการรัฐและประกันสังคม นอกจากนี้ โครงการประชานิยมยังสามารถรองรับเรื่องที่ไม่คาดฝัน หรือ
ไม่ทันตั้งรับของทุกคนได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพ (โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค) ชนบท หรือด้านการเงิน (กองทุนหมู่บ้าน) เพราะตรงกับเศรษฐกิจยุคใหม่ในชนบท ซึ่งในปัจจุบันได้แปรเปลี่ยนไปหมดแล้ว ชาวนามีรถไถใช้แทบทุกครัวเรือน

"เมื่อถามต่อว่าคนเสื้อแดงออกมาประท้วงเพราะอะไร คำถาม 3 ข้อแรกได้แก่
1.เรื่อง 2 มาตรฐาน
2.ต่อต้านการรัฐประหาร และ
3.ต่อต้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
ส่วนเหตุผลเรื่องการต่อต้านอำมาตย์นั้นไม่มีเลย
ส่วนการต่อต้านการยากจนนั้น มีคนเลือกน้อยมาก ขณะที่ปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำนั้น ไม่มีคนเลือกเลย
ดังนั้น ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ จึงขอสรุปว่าการชุมนุมของคนเสื้อแดงนั้นมีเหตุผลมาจากความขัดแย้งทาง ด้านการเมืองเป็นหลัก โดยเฉพาะเรื่องสิทธิและความเท่าเทียม" ผศ.ดร.อภิชาต กล่าว

ผศ.ดร.ประภาศ กล่าวเสริม ผศ.ดร.อภิชาตว่า เราได้ขอสรุปใหญ่ว่า
คนเสื้อแดงไม่ใช่รากหญ้าแต่เป็นยอดหญ้า ที่เข้ามาสัมพันธ์กับเศรษฐกิจการตลาดและเมือง ที่เข้ามาชุมนุมกัน ดังนั้น อย่าไปบอกว่าเขาเป็นพวกวัวควายถูกจูงมา คนพวกนี้มีชีวิตสัมพันธ์กับการเมือง และการต่อรองใช้ทรัพยากรของรัฐ ดังนั้น
การเลือกตั้งจึงเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้พวกเขาสามารถเข้าถึงทรัพยากรของรัฐ ชีวิตต้องอยู่กับความเป็นจริง
การเลือกตั้งในช่วงประชาธิปไตยเต็มใบ ผู้คนก็ใช้ประโยชน์กันได้ ส่วนประชานิยมนั้น วงขอบก็ไม่ค่อยกว้างเท่าไหร่ เราจะเห็นชัดมาก ส่วนเรื่องนักการเมืองและ หัวคะแนน ถือเป็นเรื่องปกติที่ต้องมีทรัพยากรเชื่อมโยงเข้ามา ตนเลยค่อนข้างเห็นด้วยกับ ผศ.ดร.อภิชาตว่า การมาชุมนุมไม่ได้เกิดจากความคับข้องใจ แต่คนมาร่วมชุมนุมมาด้วยประโยชน์ ที่เกิดจากกระบวนการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตย ตนคิดว่าเขาเข้ามาเหมือนกลุ่มผลประโยชน์เพื่อเข้ามารักษานายกฯ หรือพรรคการเมืองที่เขาชื่นชอบ

"ขอสรุปว่า เสื้อแดงเกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ นโยบายและการเมือง ต่างไปจากการเมืองภาคประชาชนแบบสมัชชาคนจน เสื้อแดงเป็นมวลชนอีกมิติหนึ่ง ที่น่าสนใจมาก มีลักษณะเป็นเหมือนที่ ผศ.ดร.อภิชาตพูดไว้
คนเหล่านี้เกิดขึ้นมาเพราะมีพื้นที่ทางการเมืองใหม่ๆ ขึ้นมา ทำให้ชีวิตพวกเขาที่เขาเข้าไปสัมพันธ์กับการเมืองได้มากขึ้น เข้ามาสัมพันธ์กับพวกหัวคะแนนและนักการเมือง และกลไกพวกนี้ก็สำคัญในการกระจายทรัพยากรของรัฐ ทำให้ชีวิตของเขาทำมาหากินได้มากขึ้น
ไม่มีชาวบ้านที่ไหนที่จะออกมาเดินขบวนด้วยเงินของตัวเอง เราพบว่าแกนนำหลักๆ หลายรายก็หมดเนื้อหมดตัวกันไปเหมือนกัน" ผศ.ดร.ประภาศ กล่าว


ขณะที่ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ กล่าวว่า
ตนจะมาพูดเรื่องใหม่ใน 4 เรื่อง ได้แก่ ความโกรธ ข่าวลือ สี และการก่อการร้ายที่รัฐบาลชอบพูด

1.เริ่มจากความโกรธก่อน ความโกรธมักเกิดจากการผิดหวัง สิ่งที่ทำลายความคาดหวังมีอยู่หลายอย่าง ตอนนี้กำลังระบาดไปทั่ว สามารถมาจากความรักหรือความชังก็ได้ ขบวนการทางการเมืองที่เราเห็นเป็นขบวนการทางการเมือง ที่เต็มไปด้วยอารมณ์ อารมณ์ทางการเมืองเป็นปัจจัยที่น่าสนใจมาก เราจะไม่สามารถเข้าใจการเมืองได้ ถ้าเราไม่เข้าใจความโกรธและวิธีที่อารมณ์ทำงานในสังคมการเมือง

2.ข่าวลือ นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ลักษณะพิเศษของข่าวลือคือความไม่แน่นอน ซึ่งความไม่แน่นอนนั้น เป็นอาวุธที่ทรงพลังมากในความขัดแย้งทุกชนิด เวลาสู้กับรัฐและสิ่งที่รัฐพยายามจะทำ คือ รัฐใช้กระบวนการเฝ้ามองและควบคุมที่เน้นความแน่นอน ข่าวลือเป็นอะไรที่ไม่แน่ใจและสามารถเลื่อนไหลได้ ดังนั้น จึงแปลได้ว่า เมื่อคนจำนวน 3,000 คน เดินออกจากวัดปทุมวนารามและกลับไปอยู่ในชุมนุม
ก็จะมีเรื่องเล่าอยู่ 3,000 เรื่อง และเมื่อมีคนฟัง เรื่องราวก็จะเดินทางไปอีกหลายลักษณะ จะเป็นการเปิดโอกาส ให้ทุกคนสามารถเพิ่มตอนต่างๆ เข้าได้ไป ในลักษณะที่พิศดารมากขึ้น ทั้งน่าสนใจและควบคุมไม่ได้ นอกจากนี้ ถ้ายิ่งถูกจำกัดเท่าไหร่ ข่าวลือก็ยิ่งควบคุมยากขึ้นเท่านั้น

ศ.ดร.ชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า

3.การก่อการร้าย สาระสำคัญของการก่อการร้ายไม่ใช่ความรุนแรง แต่สาระสำคัญ คือ
ความกลัวการก่อการร้ายไม่ได้ผลิตความรุนแรง แต่ผลิตความกลัวและความไม่แน่นอนในชีวิตสังคมการเมืองทุกชนิดทำงานภายใต้ฐานของความแน่นอนบางประการถ้ามีสิ่งมารบกวนจะทำให้สังคมการเมืองนั้นอยู่ได้อย่างลำบาก ความกลัว การก่อการร้ายไม่ได้ผลิตความรุนแรงแต่ผลิตความกลัว และความไม่แน่นอนในชีวิต สังคมการเมืองทุกชนิดทำงานภายใต้ฐานของความแน่นอนบางประการ ถ้ามีสิ่งมารบกวน จะทำให้สังคมการเมืองนั้นอยู่ได้อย่างลำบาก
แต่ทุกครั้งที่รัฐบาลใช้วาทกรรมเรื่องการก่อการร้าย ตนไม่ทราบว่ารัฐบาลรู้หรือไม่ว่า การก่อการร้ายเป็นสงครามที่ไม่มี ที่สิ้นสุด เพราะคู่ต่อสู้มันมีอยู่ไม่สิ้นสุด เพราะเป็นการต่อสู้กับวิธีการ ไม่ใช่การต่อสู้กับคน ดังนั้น เราควรเรียนรู้จากอิสราเอล กล่าวคือเราควรต้องป้องกันไม่ให้ประชาชนกลายเป็นผู้ก่อการร้าย ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด และ

4. สีความขัดแย้งทางการเมืองต้องอาศัยอัตลักษณ์การขัดแย้งทางการเมืองในหลายที่โดยเฉพาะในกลุ่มชาติพันธุ์ สี ความขัดแย้งทางการเมืองต้องอาศัยอัตลักษณ์ การขัดแย้งทางการเมืองในหลายที่โดยเฉพาะในกลุ่มชาติพันธุ์
สีผิวเป็นเรื่องสำคัญ แต่สีผิวกับสีเสื้อมันต่างกันตรงที่สีผิวสามารถเปลี่ยนได้ยากเสื้อกลายเป็นสัญลักษณ์บางอย่าง สีผิวเป็นเรื่องสำคัญ แต่สีผิวกับสีเสื้อมันต่างกันตรงที่สีผิวสามารถเปลี่ยนได้ยาก เสื้อกลายเป็นสัญลักษณ์บางอย่าง
เราเอาความโกรธไปใส่กับสัญลักษณ์เป็นการแบ่งขั้วในสังคมไทยซึ่งนับว่าอันตรายในสังคมไทยเหมือนกัน เราเอาความโกรธไปใส่กับสัญลักษณ์ เป็นการแบ่งขั้วในสังคมไทย ซึ่งนับว่าอันตรายในสังคมไทยเหมือนกัน


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1276522254&grpid=01&catid = http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1276522254&grpid=01&catid=